การทำ Persona นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการทำให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการทำการตลาด วันนี้แอดมินจะมาแนะนำขั้นตอนวิธีการเขียน persona แบบมืออาชีพให้เพื่อนๆฟังกันค่ะ
1. ระดมความคิดกันในทีม (Brainstorm)
เมื่อต้องการสร้าง Persona ขึ้นมา สามารถเริ่มต้นได้จากการพูดคุยกันในทีมก่อนได้ว่า ลูกค้าตามความเข้าใจของทีมเป็นแบบไหน โดยอาจถามความเห็นของทั้งฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายที่เข้าถึงหรือเคยสัมผัสลูกค้ามาก่อน ลูกค้าเป็นคนแบบไหน ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพศใด ทำงานอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร มีความต้องการหรือความสนใจอะไรเป็นพิเศษ ฯลฯ
ในขั้นตอนแรก อาจจะเริ่มต้นจากการทำ Proto Persona ร่างภาพของลูกค้าในอุดมคติขึ้นมาก่อน จากนั้น เมื่อทีมมีภาพที่ตรงกันแล้ว การจะหาข้อมูลเชิงลึกหรือ Insight เพื่อลงรายละเอียด Persona ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็เป็นเรื่องง่าย
2. รวบรวมข้อมูล หา Customer Insight จากสื่อหรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
ขั้นตอนต่อมา คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อมาใส่ในกลุ่มข้อมูลแต่ละกลุ่ม หรือหา Customer Insight จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้มีแหล่งข้อมูลเปิดและข้อมูลจากโซเชียลมีเดียที่แบรนด์สามารถเก็บใช้ได้ เช่น ยอดการรับชม ยอดคลิก ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ (Demographic Bio) เบื้องต้น เช่น เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา ฯลฯ ของกลุ่มผู้ติดตามบนช่องทางโซเชียลมีเดีย
อีกวิธีหนึ่งในการทำวิจัยและรวบรวมข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย คือ การใช้ Data Tool ในการทำวิจัยข้อมูล เช่น การใช้ ZOCIAL EYE เครื่องมือสำหรับติดตามและดึงข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย พร้อมถอดข้อมูลเป็น Insight สำหรับประกอบ Persona เช่น
- ใช้ ZOCIAL EYE ทำวิจัยตลาด (Market Research) ทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย
- ใช้ ZOCIAL EYE หาความสนใจ กิจกรรม งานอดิเรก ที่กลุ่มเป้าหมายชื่นชอบ ผ่านการสำรวจเทรนด์ #แฮชแท็ก จำนวนการมีส่วนร่วม (Engagement) ในประเด็นต่าง ๆ บนโลกโซเชียล
- ใช้ ZOCIAL EYE ติดตามแคมเปญเพื่อประเมินประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมายต่อแคมเปญ เพื่อใช้ทำ Customer Experience Persona
- ใช้ ZOCIAL EYE วิเคราะห์ Demographic ของคนที่พูดถึงแบรนด์หรือแคมเปญที่ทำการตลาดไว้ เช่น เพศ ช่วงอายุ
3. การสัมภาษณ์ลูกค้าจริง (In-Depth Interview)
เพื่อสร้าง Persona หรือแบบจำลองที่ใกล้เคียงกับลูกค้าจริงของธุรกิจ ขั้นตอนที่จะข้ามไปไม่ได้เลย คือ การสัมภาษณ์ลูกค้าจริง ซึ่งธุรกิจสามารถโทรศัพท์หรือนัดสัมภาษณ์ออนไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการ เป้าหมาย หรือปัญหาที่เข้าต้องการแก้ไข หรือหากเป็นการทำ Customer Experience Persona อาจสอบถามประสบการณ์ที่เขาได้รับจากช่องทาง (Touchpoint) ต่าง ๆ ทั้งนี้ อาจให้ของหรือสิทธิพิเศษเป็นของตอบแทนกับผู้ให้สัมภาษณ์
4. สร้าง Persona ตัวจริง
ขั้นตอนสุดท้าย คือ การนำข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบรวมกัน จัดแบ่งเป็นกลุ่มข้อมูล แปลงข้อมูลออกมาเป็นรูปภาพ (Data Visualization) เพื่อให้สามารถเข้าใจลูกค้าได้สะดวกบน Persona เพียงรูปเดียว ซึ่งในปัจจุบัน มีแบบร่างหรือ Template สำหรับทำ Persona มากมายที่ธุรกิจของคุณสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมได้
ที่มา:Marketing Persona คืออะไร อธิบายตัวอย่างและวิธีประยุกต์ใช้งานจริง – WISESIGHT
“ถ้าคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านวิจัยพัฒนาอสังหาฯ มองมาที่เรา GenZ Property“
☎️ สนใจติดต่อ:
📲 096-789-9662 (ดร.ปู)
📲 098-236-9365(คุณปอ)
📲 Line : @GentZProperty
#service #Consultant #property #investment #management #GenZ #Genzproperty
#บริการ #ปรึกษา #อสังหาริมทรัพย์ #อสังหาฯ #นักลงทุน #บริหารธุรกิจ #รับปรึกษา #ครบวงจร