“ที่ใดมีเงินได้ ที่นั่นมีภาษี” เป็นคำพูดที่ไม่เกินจริงเลย ที่ว่าเมื่อเราได้รับเงินมา ไม่ว่าจะจากช่องทางใด ก็จะต้องมีการเสียภาษีเกิดขึ้น แม้ว่าเงินนั้นจะมาจากมรดกตกทอดก็ตาม แต่ก็มีเงื่อนไขพิเศษในการเสียภาษีมรดกเช่นเดียวกัน วันนี้แอดมินจะมาอธิบายไขข้อข้องใจเกี่ยวกับภาษีมรดกให้เพื่อนๆได้ทราบกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาษีมรดกที่ดิน หรือกองมรดกคิดอย่างไร หรือต้องเสียภาษีมรดกกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อที่เพื่อนๆจะได้วางแผนการเงินล่วงหน้า และเตรียมพร้อมในการรับมอบมรดกอย่างสมบูรณ์แบบ
ภาษีมรดกคืออะไร?
ภาษีมรดก คือ ภาษีส่วนบุคคลที่จะถูกเรียกเก็บเมื่อมรดกจากผู้ตายถูกส่งต่อให้แก่บุพการี ทายาท หรือแม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางสายเลือดแต่ได้รับมรดกส่วนนั้น ตามพระราชบัญญัติภาษีมรดก พ.ศ. 2558 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกจากผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน หรือมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ต้องเสียภาษีมรดก
โดยฐานภาษีจะคิดจากมูลค่าทรัพย์มรดก และอัตราที่ต้องเสียจะไม่เท่ากัน ดูจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ตาย ซึ่งจะคิดจากมูลค่าทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ การเสียภาษีมรดกก็เพื่อที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำเรื่องความมั่งคั่งในฐานะทางสังคมนั่นเอง
ทรัพย์สินไหนบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก
มรดกที่ได้รับมาซึ่งจำเป็นต้องเสียภาษี มีดังนี้
- อสังหาริมทรัพย์ จำเป็นต้องเสียภาษีมรดกซึ่งก็คือ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทั้งในไทยและในต่างประเทศ
- หลักทรัพย์ตามกฎหมาย ได้แก่ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยหรือต่างประเทศ
- เงินฝาก
- ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานการจดทะเบียน
- ทรัพย์สินทางการเงิน
ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก และเสียกี่เปอร์เซ็นต์
คนที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก มีดังนี้
- เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
- เป็นบุคคลที่ถือสัญชาติอื่น แต่อาศัยอยู่ในประเทศไทยตามกฎหมาย
- เป็นบุคคลที่ถือสัญชาติอื่น แต่รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย
- เป็นนิติบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนในไทย หรือมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการเสียภาษีมรดกจะจำแนกอัตราภาษีตามความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้วย ก็อาจจะเกิดข้อสงสัยตามมาว่า หากเราได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกกี่เปอร์เซ็น ซึ่งรายละเอียดนั้นมีดังนี้
- บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียอัตราภาษีมรดก 5 เปอร์เซ็นต์
- ผู้ที่ไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียอัตราภาษีมรดก 10 เปอร์เซ็นต์
โดยในที่นี้จะกำหนดให้ต้องเสียอัตราภาษีการรับมรดกเมื่อส่วนเกินของมูลค่านั้นมากกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ก็ยังมีการเสียภาษีการให้ที่ควบคู่กับภาษีมรดกด้วย ซึ่งเป็นการที่ผู้ตายได้มอบโอนทรัพย์สินแก่ผู้รับก่อนที่จะเสียชีวิต อัตราการเสียภาษีมรดกจะอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ในบุพการีหรือผู้สืบสันดานที่ได้รับทรัพย์สินส่วนเกินมูลค่า 20 ล้านบาท แต่ถ้าหากไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะเสียอัตราภาษีมรดกที่ 5 เปอร์เซ็นต์ จากส่วนเกินมูลค่าของทรัพย์สิน 10 ล้านบาท โดยทั้งหมดจะเป็นในส่วนของสังหาริมทรัพย์
วิธีคำนวณภาษีมรดก
การคำนวณภาษีมรดกไม่ยากอย่างที่คิด และควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อเป็นการวางแผนการส่งมอบมรดกให้แก่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือผู้ที่ต้องการให้คนอื่นๆ ซึ่งอัตราภาษีที่ต้องคิดก็จะแตกต่างกันออกไปตามแบบที่กล่าวไว้
สิ่งสำคัญ คือ จะต้องคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับก่อนว่าเกิน 100 ล้านบาทหรือไม่ จะใช้การประเมินของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก หรือราคาประเมินของกรมที่ดินก็ได้ นอกจากนี้ ก็จะมีราคาประเมินทรัพย์สินอื่นๆ เพิ่มเติมที่สามารถศึกษาได้จากกรมสรรพากร เมื่อนำมูลค่ามรดกที่ประเมินพร้อมหักหนี้สินตามที่เจ้าของมรดกมีแล้วทั้งหมดไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีมรดก แต่ถ้าหากเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีตามนี้
คำนวณภาษีมรดกอัตราคงที่ 5%
ในบุพการีหรือผู้สืบสันดาน มีอัตราภาษีมรดกที่ต้องเสียอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนเกินมูลค่า 100 ล้านบาท เช่น ผู้ตายส่งมอบมรดกให้แก่ทายาทในจำนวน 150 ล้านบาท สูตรการคำนวณภาษีมรดก คือ
- ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่ามรดกสุทธิที่ได้รับ – 100 ล้านบาทที่กำหนดไว้ว่าไม่ต้องเสียภาษี) x 5%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = (150 – 100) x 5%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = 2.5 ล้านบาท
ตัวอย่างเพิ่มความชัดเจน เช่น
- มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 600 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 25 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (600 – 100) x 5%
- มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 880 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 39 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (880 – 100) x 5%
- มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 45 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (1,000 – 100) x 5%
คำนวณภาษีมรดกอัตราคงที่ 10%
หากผู้ที่ได้รับมรดกไม่ได้เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้ตาย คือ ไม่ได้เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน อัตราภาษีมรดกที่ต้องเสียจะอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็น ของส่วนเกินมูลค่า 100 ล้านบาท เช่น ผู้ตายส่งมอบมรดกให้แก่เพื่อนสนิทในจำนวน 150 ล้านบาท สูตรการคำนวณภาษีมรดกคือ
- ภาษีต้องจ่าย = (มูลค่ามรดกสุทธิที่ได้รับ – 100 ล้านบาทที่กำหนดไว้ว่าไม่ต้องเสียภาษี) x 10%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = (150 – 100) x 10%
- ภาษีที่ต้องจ่าย = 5 ล้านบาท
ตัวอย่างเพิ่มความชัดเจน เช่น
- มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 600 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 50 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (600 – 100) x 10%
- มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 880 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 78 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (880 – 100) x 10%
- มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 90 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (1,000 – 100) x 10%
หรือจะเข้าใจง่ายๆ ว่า ผู้ที่ไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียภาษีมรดกมากกว่าผู้ที่เป็นบุพาการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดกจำนวนครึ่งหนึ่งนั่นเอง
วิธีการยื่นภาษีมรดก
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมรดกจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และนำไปชำระภาษีที่สรรพากร ภายใน 120 วันตั้งแต่ได้รับมรดก
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเสียชีวิตจะต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาจัดการแทนภายใน 180 วัน เพื่อยื่นใบภ.ม.60 และชำระภาษีแทน โดยจะต้องเพิ่มเงิน 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่จะชำระภายใน 150 วัน สามารถแยกย่อยได้ดังนี้
- หากผู้เสียภาษีเสียชีวิตก่อนครบกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ม.60 ให้ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่ชำระภาษีแทนโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ
- หากผู้เสียภาษีเสียชีวิตเมื่อครบกำหนดเวลายื่นใบภ.ม.60 แต่ยังไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ให้ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่แทน และเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ
- หากยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายหลังกำหนดเวลา จะต้องชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ
หากไม่มีผู้จัดการมรดกมาชำระภาษีแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษีภายใน 180 วัน จะต้องให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเป็นผู้จัดการแทนภายใน 150 วัน นับตั้งแต่พ้นวันที่กำหนด 180 วัน หากมีทายาทหลายคนให้ตกลงมอบอำนาจให้คนใดคนหนึ่ง เพื่อรับหน้าที่จัดการเสียภาษีมรดกให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าใครจะเป็นผู้ทำหน้าที่เสียภาษีมรดกให้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อที่จะได้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกเป็นลำดับถัดไป
ที่มา:รู้ทันภาษีมรดก ทรัพย์สินไหนบ้างที่ต้องเสีย? | AP Thai
“ถ้าคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านวิจัยพัฒนาอสังหาฯ มองมาที่เรา GenZ Property“
☎️ สนใจติดต่อ:
📲 096-789-9662 (ดร.ปู)
📲 098-236-9365(คุณปอ)
📲 Line : @GentZProperty
#service #Consultant #property #investment #management #GenZ #Genzproperty
#บริการ #ปรึกษา #อสังหาริมทรัพย์ #อสังหาฯ #นักลงทุน #บริหารธุรกิจ #รับปรึกษา #ครบวงจร