กทม.ลุยสวน 15 นาทีเพิ่มพื้นที่สีเขียว-ออกกำลังกาย

นโยบาย ผู้ว่าฯกทม.ชัชชาติ ลดโลกร้อน ควันท่อไอเสีย มลพิษฝุ่น PM2.5ปี 2566 เป้า เพิ่มสวน 40 -50แห่ง

กรุงเทพมหานคร  มีเป้าหมายพัฒนาพื้นที่สีเขียว กระจายในทุกพื้นที่เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นพิษต่อมนุษย์แล้ว ยังช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ ลดฝุ่นพิษ PM2.5 เขม่าควันจากท่อไอเสียและการเผาไหม้ ที่นับวันจะวิกฤตรุนแรงขึ้น

ขณะเดียวกันยังช่วยให้ร่มเงาสำหรับผู้คนที่สัญจร นอกจากนโยบายทำกรุงเทพให้เขียวแล้ว  ยังมีโครงการสวนสาธารณะ 15 นาที ส่วนหนึ่งที่เกิดจากการนำพื้นที่ว่างขนาดเล็กมาพัฒนาใส่รายละเอียด พื้นที่สวนขนาดจิ๋ว ส่งเสริมให้มนุษย์เมืองได้ ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ คลายร้อน  ตามนโยบายหนึ่งในนโยบายเส้นเลือดฝอยของนายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์  ซึ่งปัจจุบันทยอยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่

ล่าสุด สำนักงานเขตลาดพร้าวอยู่ระหว่างนำที่ดินรกร้าง เนื้อที่กว่า 400ตารางวาที่ผู้ประกอบการธุรกิจบ้านจัดสรร มอบให้ ทางกรุงเทพมหานครก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนา คาดว่า ใช้เวลาไม่เกิน 1-2เดือน นับจากนี้จะเปิดให้บริการประชาชน

ภาพ : โครงการสวน15นาที

จากเป้าหมาย ปี 2566 กรุงเทพมหานคร (กทม.) สามารถเปิดสวน 15 นาทีได้เพิ่มอีก 40-50 แห่ง ขณะการเปิดสวนได้มากหรือน้อยอยู่ที่ที่ดินที่จะได้มา รวมถึงทำเลที่ตั้งต้องอยู่ในโซนชุมชนที่ประชาชนเข้าถึงได้ตามความเหมาะสม 

แหล่งข่าวจากกทม. กล่าวว่า กรณีที่ดินที่ได้มามีจำนวนหลายแปลง แต่ละสำนักงานเขตฯจะเร่งปรับปรุงที่ดินบริเวณนั้นให้สามารถเปิดให้บริการได้เร็วที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนที่ต้องการพื้นที่สีเขียวสำหรับออกกำลังกาย เดินเล่น หรือพักผ่อนในยามว่าง

“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบ ความหมายและเงื่อนไข ของสวน 15 นาที ตามแนวนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 

พื้นที่สาธารณะที่ทำกิจกรรมได้กระจายตัวอยู่ทุกที่ และสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินภายใน 15 นาที

ปัจจุบันการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเปิดโล่ง (outdoor public space) หรือที่ทำกิจกรรมออกกำลังหรือพักผ่อนหย่อนใจได้มีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด ทั่วทั้งกทม. มีสวนสาธารณะหลัก 40 แห่ง  นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวอื่น ๆ ที่ใช้งานได้กระจายอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามปรากฏข้อมูลไม่แน่ชัด

เนื่องจาก ได้ทำฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวโดยจัดกลุ่มเป็นสวน 7 ประเภท ได้แก่

  1. สวนเฉพาะทาง
  2. สวนชุมชน
  3. สวนถนน
  4. สวนระดับเมือง
  5. สวนระดับย่าน
  6. สวนหมู่บ้าน
  7. สวนหย่อมขนาดเล็ก

ส่วนสวนไม่ได้ระบุประเภท รวมพื้นที่ 41,327,286.489 ตารางเมตร 

การจัดกลุ่มพื้นที่สีเขียวในลักษณะนี้ไม่สามารถแยกได้ว่าสวนไหนใช้งานได้หรือไม่ได้ ตัวอย่างเช่น สวนถนน นับรวมสวนไหล่ทาง สวนเกาะกลาง หรือ สวนหมู่บ้าน ซึ่งประชาชนอาจไม่สามารถเข้าใช้ได้หรือเข้าใช้ได้น้อย

ขณะเดียวกันกลับมีพื้นที่รวมกันมากถึง 18,602,682.9  ตารางเมตร คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่สีเขียวทั้งหมดเพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่พักผ่อนได้ใกล้บ้าน กทม. จึงมีนโยบายทำให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเปิดโล่งได้ด้วยการเดิน ดังนี้

การเพิ่มพื้นที่ใหม่

  1. กำหนดเป้าหมายการเข้าถึงของประชาชนภายในระยะ 800 เมตร หรือระยะการเดิน 10-15 นาที
  2. หาพื้นที่พัฒนา pocket park ขนาดเล็กในแต่ละพื้นที่โดยศึกษาพื้นที่ของทั้ง ราชการ และเอกชน อาทิ สถานที่ราชการ แปลงที่ดินว่าง พื้นที่รอการพัฒนา พื้นที่รกร้างซึ่งติดขัดข้อกฎหมาย พื้นที่จุดบอดต่าง ๆ ของโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่ระยะถอยร่น พื้นที่ว่างหน้าอาคารขนาดใหญ่ รวมถึงการเปิดให้ประชาชนร่วมเสนอพื้นที่ศักยภาพน่าพัฒนา
  3. อาศัยกลไกทางภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจูงใจให้เอกชนมอบที่ดินให้ กทม.พัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่องดเว้นการเสียภาษี
  4. เปิดพื้นที่นอกอาคารของสถานที่ราชการ อาทิ โรงเรียน สำนักงานต่างๆ ให้ประชาชนเข้าใช้ได้บางเวลา
  5. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะบนที่ดินเอกชน (privately owned public space: POPS) ผ่านมาตรการลดหย่อนภาษีจากการสร้างสาธารณประโยชน์ การหาภาคีในการร่วมพัฒนาพื้นที่ หรือการกำหนดข้อตกลงในเชิงการบริหารจัดการ เช่น ดูแลต้นไม้และทำความสะอาดพื้นที่โดย กทม. หรือการให้บริการสาธารณูปโภคโดยภาครัฐ เป็นต้น

ควบคู่กับการเพิ่มจำนวนสวน กทม.จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสวน โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลและจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อการพักผ่อนและการสันทนาการของประชาชน

การพัฒนาพื้นที่เดิม

1.พัฒนาลานกีฬาทั้ง1034แห่ง ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เนื่องด้วยเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีการกระจายตัวมากที่สุด และกระจายตัวเข้าไปในแหล่งชุมชนอยู่เดิมแล้ว

 2.เพิ่มมิติด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพื้นที่เดิมเช่นลานกีฬา ด้วยการเพิ่มไม้พุ่ม ไม้ประดับ หรือสวนแนวตั้ง เพื่อเพื่มมิติการใช้งาน และสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น

การพัฒนาฐานข้อมูล

ปักหมุดทำฐานข้อมูลสวน 15 นาที โดยเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมสวนที่ประชาชนสามารถใช้งานได้จริง และเปิดเป็น open data เป็นต้น

ทั้งนี้ พื้นที่เล็กๆแทรกตัวตามชุมชน สามารถจุดประกายเป็นสวนใช้ประโยชน์แก่คนส่วนรวมได้ หากทุกคนให้ความร่วมมือสวน 15นาที จะอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป

ที่มา : https://www.thansettakij.com/

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd