ก่อนที่จะทำการต่อเติมบ้านได้ ก็จะต้องมีขั้นตอนต่างๆ อย่างการตรวจสอบ และการขออนุญาต รวมถึงการเตรียมความพร้อมที่จะทำให้การต่อเติมบ้านไม่ผิดกฎหมาย และดำเนินได้อย่างสะดวก โดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. มีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
การก่อสร้างบางประเภทต้องมีการขออนุญาต ซึ่งออกโดยเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยการต่อเติมบ้านที่ต้องขออนุญาตก็จะมีดังนี้
- การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ และขนาดที่แตกต่างไปจากของเดิม
- การเพิ่ม-ลด จำนวนเสา หรือคาน
- การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร
- การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐาน รับน้ำหนัก
หากมีปัญหาในการขอใบอนุญาตก่อสร้างหรือต่อเติม ก็สามารถปรึกษาสถาปนิกหรือวิศวกรที่เชี่ยวชาญด้านการต่อเติมอาคาร นอกจากนี้ยังสามารถปรึกษากับผู้รับเหมาด้วยว่าการต่อเติมบ้านที่วางแผนไว้ต้องขออนุญาตไหม
2.มีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม
การต่อเติมบ้านที่ต้องมีการยื่นเอกสารขออนุญาตต่อเจ้าหน้าพนักงานท้องถิ่นนั้นต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนที่จะใช้ในการต่อเติมที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบ รวมถึงวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างด้วย ดังนั้น ในขั้นตอนนี้จึงต้องทำให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เพื่อที่จะไม่มีการต่อเติมที่จะล้ำสิทธิเพื่อนบ้าน หรือทำความเสียหายกับมูลค่าทรัพย์สินโดยทั่วไป
3.มีระยะร่น และการเว้นที่ว่างถูกต้องตามกฎหมาย
การต่อเติมบ้านจะมีกฎเกณฑ์เรื่องความห่าง และการเว้นระยะอยู่ เพื่อที่จะไม่ให้อาคารบ้านรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ส่วนกลาง หรือพื้นของคนอื่นเกินไปจนเกิดปัญหาขึ้นได้ โดยความห่างที่ต้องคอยดูไว้ มีดังนี้
- มีขอบเขตของตัวบ้านไม่เกิน 70% ของที่ดิน นับจากชั้นที่มีพื้นที่กว้างสุดในบ้าน
- ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนต้องมีอย่างน้อย 3 เมตร
- เว้นที่ว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 เมตร ส่วนที่ว่างด้านหลัง และด้านข้างต้องเว้นไว้อย่างน้อย 2 เมตร
- บ้านชั้นเดียว หรือบ้านมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของช่องเปิด อย่างหน้าต่าง ช่องลม และช่องแสง ให้ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ในขณะที่ผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
4.มีความยินยอมจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง
ก่อนเริ่มโครงการสำคัญใดๆ เช่น การปรับเปลี่ยนผนัง ขยายพื้น หรือหลังคา และต่อเติม-รื้อถอนอาคาร ก็ควรจะติดต่อเพื่อนบ้านรอบข้าง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะก่อให้เกิดการถกเถียงกันในภายหน้า และแจ้งเตือนให้ทราบถึงผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่าง เช่น เสียงดัง กลิ่น หรือฝุ่น เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนดำเนินการต่อเติมบ้าน ยิ่งในกรณีของบ้านจัดสรร ที่มีเพื่อนบ้านอยู่โดยรอบ เจ้าของบ้านควรพูดคุยขอความยินยอม พร้อมแจ้งวันเวลาให้เพื่อนบ้านได้รับรู้ อธิบายว่าทำไมถึงต้องการสร้างสิ่งใหม่ และขอให้พวกเขาร่วมมือในระหว่างกระบวนการ หากเป็นไปได้ พยายามขอความยินยอมทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มทำการต่อเติม เพื่อหลีกเลี่ยงข้อโต้แย้งที่ไม่จำเป็นในภายหลัง โดยเฉพาะการต่อเติมผนังทึบที่ชิดรั้วบ้านด้านข้าง ที่จะต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้านเท่านั้นจึงจะทำได้
ที่มา: https://www.apthai.com/th/blog/know-how/knowhow-renovation-law
“ถ้าคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านวิจัยพัฒนาอสังหาฯ มองมาที่เรา GenZ Property“
☎️ สนใจติดต่อ:
📲 096-789-9662 (ดร.ปู)
📲 098-236-9365(คุณปอ)
📲 Line : @GentZProperty
#service #Consultant #property #investment #management #GenZ #Genzproperty
#บริการ #ปรึกษา #อสังหาริมทรัพย์ #อสังหาฯ #นักลงทุน #บริหารธุรกิจ #รับปรึกษา #ครบวงจร