5 คำถาม ศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจเบื้องต้น Feasibility Study

5 คำถาม ศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจเบื้องต้น Feasibility Study

🔸

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นกระบวนการที่ใช้ข้อมูลพื้นฐาน และการคาดคะเนอย่างเป็นระบบมาใช้ในการตัดสินใจว่าจะลงทุนในโครงการ หรือธุรกิจต่าง ๆ หรือไม่ อย่างไร โดยจะต้องนำปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภาพรวมการตลาด ข้อมูลทางเทคนิค ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ แง่มุมการบริหารจัดการ ประเด็นทางสังคม และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องใช้งานร่วมกับแผนธุรกิจที่มีรายละเอียดหลากหลายด้านประกอบกัน 

🔸

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่อยากประเมินความเป็นไปได้ของไอเดียทางธุรกิจที่มีอยู่เบื้องต้น ก่อนที่จะไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาความเป็นไปได้อย่างจริงจัง อาจเริ่มจากการตอบคำถาม 5 ข้อนี้ให้ได้ด้วยตัวเองก่อน

🔸

1) Market Feasibility – มีความต้องการในตลาดไหม 

ความเป็นไปได้ในแง่การตลาด คือการศึกษาว่าไอเดียสินค้าหรือบริการที่คิดไว้ มีความต้องการในตลาดมากน้อยเพียงใด หากมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจริงก็ต้องเจาะลึกลงไปอีกว่าเป็นจำนวนความต้องการที่มากเพียงพอสำหรับการสร้างธุรกิจได้หรือไม่

🔸

2) Production Feasibility – ผลิตได้จริงไหม 

ความเป็นไปได้ในเชิงการผลิต คือการศึกษากระบวนการในการผลิตสินค้า หรือการจัดการบริการนั้นขึ้นมา ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ ศึกษาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์จากทั้งในแง่มุมของคุณภาพ ราคา ปริมาณ และเวลาที่พอเหมาะพอดีกันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

🔸

3) Law & Regulation Feasibility – กฎหมายอนุญาตไหม 

ความเป็นไปได้ในเชิงกฏหมาย คือการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดไว้แตกต่างกันในแต่ละประเทศ เพราะต่อให้ไอเดียล้ำสมัยก้าวหน้าเพียงใด แต่ไม่สามารถเข้ากับระเบียบข้อบังคับที่เป็นอยู่ได้ ก็อาจไปได้ไม่ไกลอย่างที่หวัง โดยควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไปจนถึงกฎหมายของประเทศอันเป็นที่ตั้งของธุรกิจคู่ค้าและองค์กรที่จัดหาสินค้าและบริการ (Supplier)

🔸

4) Business Model Feasibility – รูปแบบการสร้างรายได้คืออะไร

ความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบการสร้างรายได้ และกำไรที่เหมาะสม วิเคราะห์หารูปแบบการสร้างรายได้ที่เหมาะสม เพราะทุกไอเดียธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงโครงสร้างทางการเงินที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปต่อและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง การเขียนแผนธุรกิจออกมาเป็นรูปธรรม จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการคำนวณความคุ้มค่าในการลงทุน และช่วยทำให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจอย่างรอบด้าน

🔸

5) Financial Feasibility – คุ้มไหมที่จะลงทุน

ความเป็นไปได้ในทางการเงิน คือการประเมินจำนวนเงินลงทุนที่คาดว่าจะจัดสรรมาใช้ได้ ประเมินความเป็นไปได้ในการบริหารกระแสเงินสด อาจนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางตลาดและการผลิตมาใช้ประกอบเพื่อประเมินได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น หรือทดลองใช้ Financial Feasibility Canvas: FFC เครื่องมือส่วนต่อขยายที่ช่วยประเมินความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ เป็นกรอบคิดสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลบนพื้นฐานการเงิน ช่วยให้ผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจได้อย่างมั่นใจ พัฒนาขึ้นโดย ดร.วสุ กีรติวุฒิเศรษฐ์ จากคณะบริหารธุรกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ อาจารย์ด้านนวัตกรรม และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ วิทยาลัยการ​จัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd