สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ของไทยล่าสุด ประจำเดือน มิถุนายน 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวสูงขึ้นของเงินเฟ้อถึง 7.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (มิ.ย. 64) โดยมีปัจจัยที่ดันให้ “อัตราเงินเฟ้อ” สูงขึ้น หลักๆ คือ ราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม
รณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 107.58 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (106.62) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.90% (MoM) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้น 1.40% (MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.66% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลชุดนี้ยังสะท้อนว่าแม้เงินเฟ้อจะปรับตัวสูง แต่ยังมีกลุ่มสินค้าที่มีราคาลดลงในช่วงเวลาเดียวกันด้วย
โดยราคาสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ มีดังนี้
- สินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น
1. กลุ่มพลังงาน มีอัตราการเติบโตของราคา 39.97% จึงส่งผลให้พลังงานมีสัดส่วนถึง 61.83% ของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ ทั้งนี้ สินค้ากลุ่มพลังงานประกอบด้วย
– น้ำมันเชื้อเพลิง ราคาเพิ่มขึ้น 39.45%
– ค่าไฟฟ้า ราคาเพิ่มขึ้น 45.41%
– ราคาก๊าซหุงต้ม ราคาเพิ่มขึ้น 12.63%
2. กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มีอัตราการเติบโตของราคา 6.42% จึงส่งผลให้กลุ่มอาหารมีสัดส่วน 34.27% ของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และเครื่องประกอบอาหาร สาเหตุที่กลุ่มอาหารมีราคาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากพลังงานเป็นต้นทุนแฝงในกระบวนการผลิตสินค้าอาหารทุกขั้นตอน ตลอดจนเป็นต้นทุนโลจิสติกส์ และราคาวัตถุดิบทั้งหมด
3. สินค้าอื่นๆ มีสัดส่วน 3.9% ของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ อาทิ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ของใช้ส่วนบุคคล (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน) ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์ สุรา) และค่าโดยสารสาธารณะ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสินที่เราจะสู้เงินเฟ้อได้ คือการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีผลตอบแทนมากกว่า 7.6%
ถ้าเราเก็บเงิน 100 บาท ในธนาคาร ดอกเบี้ย 3% (โลกสวย) มูลค่าเงินเก็บเราเท่ากับ 95.4 บาท
เงินเรามูลค่าลดลงไป 7 บาท แต่งอกเงยจาก ดอกเบี้ยธนาคาร 3 บาท ทำไมยิ่งเก็บยิ่งจน
ถ้าหากเรามีที่ปรึกษา ด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เลือกและคัดสรรอสังหาที่มั่นคงคงที่ ผลตอบแทนภายใน 2 – 3 ปี เรามีเงิน 100 บาท ซื้อทรัพย์ที่มูลค่าเพิ่ม ให้ capital gain กลับมา 40% ทรัพย์ที่เราซื้อมา 100 บาท ภายใน2 -3 ปี ทรัพย์จะมีมูลค่าเท่ากับ 133 บาท (100 + capital gain – inflation = ผลตอบแทนสุทธิ)
คุ้มค่ามากเลยครับ ถ้าหากต้องการทรัพย์ที่มี capital gain มากกว่า เงินเฟ้อ สนใจติดต่อมา