รวบรวม สินค้าบริการ บ้านอัฉริยะ SMART IOT

ธุรกิจ Smart home ของประเทศไทยและทั่วโลกยังโตได้อีกมากซึ่งเฉลี่ยทั่วโลกโตคาดการณ์ยอดขายจะโตปีละ 16 % และการใช้ 5G ทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ Smart home ได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น ในอนาคตจะเห็นอุปกรณ์ Smart home ในบ้านเป็นของธรรมดาที่ทุกบ้านต้องมีอย่างแน่นอน

Smart Home – บ้านอัจฉริยะ

Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะ เป็นบ้านที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การควบคุมอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในภายนอกบ้านทำได้จากระยะไกล เช่น การควบคุมระบบไฟฟ้า อุณหภูมิภายในบ้าน ความบันเทิงในบ้าน ระบบรักษาความ ปลอดภัย และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยปัจจุบันมีการพัฒนาร่วมกับแนวคิด Internet of Thing (IoT) ที่ใช้งานกับอุปกรณ์ไอที ในชีวิตประจำวัน เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอื่นๆ นำมาเชื่อมโยงและรับส่ง ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย เพื่อสั่งการและควบคุมการใช้งานในระยะไกลได้สะดวกรวดเร็ว โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการใช้สินค้าสมาร์ทโฮมเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งควบคุมการใช้ พลังงานและเพิ่มระดับความปลอดภัย สมาร์ทโฮมจึงนับว่าเป็นสินค้าทางเลือกสำหรับชีวิตในยุคดิจิตอล

การเติบโตของอุปกรณ์ Smart Home

จากการประเมินของ IDC สถาบันวิจัยด้านการตลาดของสหรัฐฯ ระบุว่า จำนวนอุปกรณ์ Smart home ของโลก จะเติบโตประมาณ 31% ในปี 2018 หรือประมาณ 644 ล้านเครื่อง  โดย IDC คาดการณ์ว่า ภายในปี 2022 จำนวนของอุปกรณ์เหล่านี้จะเติบโตไปถึงเกือบ 1,300 ล้านเครื่อง ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งหากคำนวณเป็นมูลค่าแล้ว เราจะเห็นได้จากการประเมินมูลค่าตลาดของ Smart home ทั่วโลก จัดทำโดย A.T. Kearney ที่คาดการณ์ว่า ในปี 2025 ตลาด Smart home จะมีขนาดกว่า 263,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การศึกษายังระบุอีกว่า Smart home ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ใน 2 หมวดหลักๆ นั่นก็คืออุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต และอุปกรณ์ที่ตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัย

นอกจากนี้การสำรวจข้อมูลของอีกรายโดย Statista บริษัทวิจัยด้านการตลาดของเยอรมนี ระบุว่าสหรัฐฯ จัดเป็นประเทศที่มีการใช้อุปกรณ์ Smart home มากที่สุดในโลก โดย Home automation มีสัดส่วนมากที่สุด ตามมาด้วยอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย รองลงมาคือ จีน และญี่ปุ่นตามลำดับ โดยพบว่าการใช้งาน Smart home ส่วนใหญ่เน้นไปในเรื่องการเพิ่มความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยเป็นสำคัญ โดยรายได้ทั่วโลกอยู่ 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2019 และคาดว่าจะเกือบ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 โดยข้อมูลจาก statista.com

  • รายได้ของธุรกิจ Smart Home คาดการณ์ว่าปี 2020 จะอยู่ที่ 9.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
  • อัตราการเติบโตคาดว่าจะอยู่ที่ 16.1% (ระหว่างปี 2020-2025)
  • อัตราบ้านที่ใช้อุปกรณ์นี้ (Household penetration) 9.1% ในปี 2020 และคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 21.3% ในปี 2025.
  • เฉลี่ยรายได้ต่อบ้านที่ใช้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ $489.70 ต่อหลัง
  • จำนวนบ้านที่ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมอยู่ที่ 189.4 ล้านหลังโตขึ้นจากปีที่แล้ว 32%

ข้อมูลการใช้ Smart Home ในประเทศไทย 2020

จากสถิติผู้ใช้ดิจิทัลของประเทศไทย 2020 โดย “Hootsuite” ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social Media และ Marketing Solutions 

ธุรกิจ Smart home ของไทยยังถือว่าต่ำมาก ในการใช้ internet ใช้เกี่ยวกับ Smart home เพียง 3.7% เท่านั้น เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 11% ซึ่งยังโตได้อีกเยอะ

ขณะที่ตลาด smart home ทั่วโลกมีขนาด 73,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราเติบโตประมาณ 30% เมื่อเทียบกับปี 2018 เมื่อดูข้อมูลทั่วโลกพบว่า มีบ้านที่มีอุปกรณ์ Smart home เพียง 7.2% ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมของอุปกรณ์ Smart home ของแต่ละบ้านอยู่ที่ $550 ซึ่งเป็นตลาดที่น่าจับตาอย่างมากและเป็นเทรนด์ที่จะมาในอนาคตอย่างแน่นอน

2 รูปด้านบนเป็นข้อมูล Smart home ของประเทศไทยซึ่งจากข้อมูลมีติดตั้งอยู่ 4 แสนหลัง ตลาดของอุปกรณ์ Smart home ของไทยอยู่ที่ 3440 ล้านบาทไทย (1 us = 31฿) เติบโตถึง 46% ค่าเฉลี่ยอุปกรณ์สมาร์ทโฮมของแต่ละบ้านอยู่ที่ 8500 บาท

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนตลาด Smarthome

หากมองไปในระยะถัดไป อีไอซีมองว่า 4 เทรนด์หลักที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาตลาด Smarthome ทั่วโลก รวมถึงในไทยด้วย ได้แก่

1. การบำรุงรักษาแบบคาดคะเน (Predictive maintenance) หมายถึง การติดตั้งระบบที่สามารถ monitor การเปลี่ยนแปลงของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้านได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือแม้กระทั่งเครื่องวัดคุณภาพอากาศ (Air quality monitor) เพื่อแจ้งเตือนให้ทำความสะอาดในบริเวณที่เริ่มสกปรกและมีฝุ่น ซึ่งการติดตั้งระบบดังกล่าวนี้ช่วยให้ปัญหาการซ่อมบำรุงลดลง เพราะเจ้าของบ้านสามารถรู้สถานะก่อนที่เครื่องใช้ต่างๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือรอการแก้ไข

 2. การสั่งงานด้วยเสียง (Voice command) ในเวลานี้ การสั่งงานด้วยเสียงต้องมีความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น (User-friendly) โดย command language ที่ใช้กับ Smart speaker ต้องสามารถเข้าใจวิธีการสั่งงานด้วยคำพูดที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ (near human-like natural language processing) และที่สำคัญต้องสามารถสื่อสารด้วย สำเนียงหรือวิธีการพูดที่หลากหลาย โดยในปัจจุบันมี Startup ในไทย พัฒนา Smart speaker ที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยแล้ว

บริษัทวิจัยตลาดชื่อดัง Comscore ได้ประเมินตัวเลขการ search online ทั่วโลกไว้ว่า ภายในปี 2020 50% ของการ search จะเป็นการ search ด้วยเสียง

 3. การคาดการณ์แนวโน้มพฤติกรรม (Behavior prediction) การประยุกต์ใช้ Artificial Intelligence (AI) เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์ Smart home โดยพฤติกรรมเหล่านี้จะถูกนำมารวมกันเป็นกลุ่มและจัดระบบเป็น Timeline ในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น หากเจ้าของบ้านขับรถเข้าถึงซอยบ้านอาจจะมีการแจ้งเตือนมาทาง Smartphone ว่าเจ้าของบ้านมีความต้องการที่จะเปิดไฟหน้าบ้าน และเปิดเครื่องปรับอากาศในพื้นที่ที่คาดว่าจะถูกใช้งาน รวมไปถึงเตรียมเปิดรายการทีวีที่ชื่นชอบรอไว้ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถทำกิจวัตรที่ต้องการได้ทันทีที่เข้ามาถึงบ้าน

4. Smart home ในราคาที่จับต้องได้ (Affordable Smart home) การเข้ามาในตลาด Smart home ของผู้เล่นรายใหญ่จากประเทศจีน เช่น Xiaomi และ Alibaba ที่ต่างมี อุปกรณ์ไฮเทคมากมายวางขายในท้องตลาด โดยสินค้าส่วนใหญ่มีราคาเพียงหลักร้อย หรือหลักพัน ทำให้ตลาด Smart home ทั่วโลกคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนแบ่งตลาด Smart speaker ของโลก ของเจ้าตลาด อย่าง Amazon ลดลงถึงครึ่งหนึ่ง (จากประมาณ 80% มาอยู่ที่ประมาณ 40%) ในปี 2018 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในอนาคตข้างหน้าการแข่งขันด้านราคาจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ตัวอย่างของอุปกรณ์ Smart Home

อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ Nest Thermostat ที่สามารถควบคุม อุณหภูมิภายในบ้านผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต โดยมีฟังก์ชั่น “self-learning mode” สามารถเชื่อมต่อกับบริการ cloud บนอินเตอร์เน็ต และยังมีระบบตรวจสอบควันอัจฉริยะ “Smart smoke alarm” เพื่อความปลอดภัยภายในบ้าน

Nest protect ที่สามารถส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่อเกิดไฟไหม้Ring Door Bell ติดไว้หน้าบ้าน สามารถเห็นประตูบ้านผ่าน Smart Phone

Smart security camera ที่สามารถใช้งานในขณะที่เจ้าของบ้านอยู่นอกพื้นที่หรือไปพักผ่อนต่างเมือง โดยระบบ เซ็นเซอร์อัจฉริยะจะวิเคราะห์ความแตกต่างของรูปร่างผู้อยู่อาศัย ผู้มาเยี่ยม สัตว์เลี้ยง หรือโจรขโมย รวมทั้งตรวจจับ ความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อพบพฤติกรรมที่น่าสงสัย รวมถึงระบบเปิดปิดประตูบ้านอัจฉริยะ ที่สามารถอนุญาตหรือปฎิเสธผู้มาเยี่ยม และสามารถปลดล็อคอัตโนมัติเมื่อเจ้าของบ้าน เข้าใกล้เขตประตูรั้ว (ระบบเดียวกับรีโมทรถยนต์)

ข้อมูลจาก:

Economic Intelligence Center (EIC)

https://ditp.go.th/contents_attach/552749/552749.pdf

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd