ย่านแม่บินแล้วว นักลงทุนผวา !!

ย่านแม่บินแล้วว นักลงทุนผวา !!

หลังจากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ มุ่งสู่การเป็น “เทคคัมปะนี” เพื่อแสวงหาการเติบโตใหม่ ๆ ภายใต้บริบทการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการพยายามทะลุขีดจำกัดความเป็นธนาคารพาณิชย์ โดยจัดตั้งบริษัท “เอสซีบีเอ็กซ์” (SCBX) เป็นยานแม่ แล้วแตกธุรกิจด้านต่าง ๆ ไปเป็นบริษัทลูกนั้น ทำให้มีคำถามว่าสุดท้ายแล้วการกำกับดูแลจะทำอย่างไร

แบงก์ตั้งโฮลดิ้งไม่ใช่เรื่องใหม่

โดย “นวอร เดชสุวรรณ์” ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตอบคำถามผ่าน “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเปลี่ยนโครงสร้างของกลุ่ม SCB ในครั้งนี้ เป็นการจัดโครงสร้างกลุ่ม โดยจะมี SCBX ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง เป็นบริษัทแม่ และมีธนาคาร รวมทั้งบริษัทอื่น ๆ เป็นบริษัทลูก (จากเดิมที่ธนาคารเป็นบริษัทแม่) ซึ่งการจัดโครงสร้างลักษณะนี้ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก็มีอยู่แล้ว อาจไม่ใช่เรื่องใหม่นัก

ทั้งนี้ ปัจจุบันก็มีธนาคารพาณิชย์ในไทยหลายแห่งที่มีบริษัทโฮลดิ้งเป็นบริษัทแม่ และมีธนาคารเป็นบริษัทลูก เช่นบมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ของธนาคารทิสโก้ (TISCO) หรือ บมจ.แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป ของธนาคารแอล เอช แบงก์ (LH BANK) โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีสถาบันการเงินอื่นขอเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มในลักษณะนี้เพิ่มเติม

หวังสร้างบริการทางการเงินที่ดี

“นวอร” กล่าวว่า ตามที่ธนาคารชี้แจงว่าการจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจในลักษณะดังกล่าวที่แยกการทำธุรกิจที่นอกเหนือจาก traditional banking (ธนาคารดั้งเดิม) มาดำเนินการภายใต้บริษัทลูกหลาย ๆ บริษัท โดยมีโฮลดิ้งคัมปะนีเป็นบริษัทแม่เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลนั้นธนาคารต้องการสร้างความคล่องตัวในการทำธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคารให้สามารถเสนอบริการทางการเงินและที่เกี่ยวข้องได้ตรงกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น ภายใต้บริบทปัจจุบันและในอนาคตที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญ ซึ่ง ธปท.ไม่ขัดข้อง

“ธปท.ไม่ขัดข้องหากการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้ลูกค้าประชาชนได้รับบริการทางการเงินที่ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นธรรมโดยธนาคารยังคงต้องดูแลให้ธนาคารและกลุ่มธุรกิจมีความมั่นคง มีเสถียรภาพ และสร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม”

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน ธปท.มีอำนาจในการกำกับและตรวจสอบกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทั้งบริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมอยู่แล้วและ ธปท.ก็มีประกาศหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งทุกบริษัทในกลุ่มต้องปฏิบัติตาม ทั้งในเรื่องขอบเขตธุรกิจของแต่ละบริษัท การทำธุรกรรมระหว่างกันภายในกลุ่ม ธรรมาภิบาล การให้บริการที่เป็นธรรม (market conduct) ฯลฯ รวมทั้ง ธปท.มีการติดตามตรวจสอบกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกแห่งของธนาคารพาณิชย์แบบต่อเนื่อง (on-going supervision)

ธปท.อนุมัติอย่างช้า ม.ค.65

ส่วนขั้นตอนการขออนุญาตต่าง ๆ ในช่วงเปลี่ยนผ่านของ SCB สู่ SCBX นั้น “นวอร” บอกว่า SCB ต้องมายื่นขออนุญาตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มกับ ธปท.อย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งภายหลังที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ SCB ให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มนี้แล้ว (ประชุม EGM 15 พ.ย. 2564 คาดว่าจะยื่นขออนุญาต ธปท.ภายในเดือน พ.ย. และ ธปท.น่าจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิ้น ธ.ค. 2564 หรือ ม.ค. 2565)

“ในการยื่นขออนุญาต ธนาคารจะต้องส่งรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาให้ ธปท.ประกอบการพิจารณา เพื่อแสดงให้เห็นว่าธนาคารมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กำกับดูแลในด้านต่าง ๆ เช่น ขอบเขตธุรกิจของบริษัทลูกทั้งหมด การทำธุรกรรมระหว่างบริษัทในกลุ่ม การบริหารจัดการความเสี่ยง การทำหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารตามหลักธรรมาภิบาล การดำรงเงินกองทุนของทั้งธนาคารและกลุ่มธุรกิจให้เพียงพอรองรับการดำเนินธุรกิจและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม การดูแลลูกค้าให้ได้รับบริการอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรม ตลอดจนหลักเกณฑ์เรื่องการจ่ายเงินปันผลรองรับการปรับโครงสร้างกลุ่ม”

บริษัทลูกต้องยื่นขอไลเซนส์ใหม่

ขณะเดียวกัน SCB ก็ต้องยื่นขออนุญาตและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลอื่นด้วย เช่น การประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในการนำ SCBX เข้าจดทะเบียน (listed) ในตลาดหลักทรัพย์ฯแทน SCB ที่จะถูกเพิกถอนหลักทรัพย์ (delisted) ออกไป รวมถึงการยื่นขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจากกระทรวงการคลัง ผ่าน ธปท. สำหรับการจัดตั้งบริษัท CardX เป็นต้น

ผู้ว่าการ ธปท.หนุนแบงก์ปรับตัว

“ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธนาคารต้องปรับตัวเพื่อรองรับบริบทใหม่ ๆ และต้องจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องกับกระแสของอนาคตที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของกระแสสีเขียว (green) และ ESG (การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) มากขึ้น อาทิ การผนวกเรื่อง ESG เข้าไปตลอดกระบวนการให้สินเชื่อ การเปิดเผยข้อมูลเรื่องการดำเนินการด้านความยั่งยืน รวมถึงการมีนโยบายขององค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้อย่างชัดเจน โดย ธปท.ในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลระบบธนาคารพาณิชย์ และทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ก็ต้องปรับตัวอย่างน้อย 3 ด้าน คือ (1) การดูแลให้บรรยากาศในภาคการเงินเอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงการปรับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจและประชาชน (2) ต้องเพิ่มสมดุลระหว่างการเอื้อให้มีนวัตกรรมใหม่ หรือมีผู้เล่นรายใหม่ กับการดูแลให้ระบบการเงินยังสามารถสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้และมีเสถียรภาพ และ (3) ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน และ SMEs ที่ยังเป็น pain point (จุดอ่อน) สำคัญของระบบการเงินไทย

Credit : https://www.prachachat.net/finance/news-771130

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd