ภาษีที่ดิน 2566 ใครต้องเสียบ้าง

ภาษีที่ดิน 2566 ใครต้องเสียบ้าง

ภาษีที่ดิน 2566 จ่ายเท่าไหร่ มาเช็กอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทั้ง 4 ประเภท หลังปรับลดภาษี 15%

          ภาษีที่ดิน คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะยังคงจัดเก็บในอัตราเดิมเหมือนกับปี 2563-2565 และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 คณะรัฐมนตรียังได้มีมติให้ปรับลดภาษีที่ดินลงอีก 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ เท่ากับว่าในปี 2566 เราจะเสียภาษีที่ดินน้อยลง

ภาษีที่ดิน 2566 ใครต้องเสียบ้าง
  • เจ้าของที่ดิน/เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง/เจ้าของห้องชุด (กรณีนี้อาจไม่ใช่เจ้าบ้านก็ได้ เพราะหากเจ้าบ้านไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น เจ้าบ้านก็ไม่ใช่ผู้ที่ต้องเสียภาษี)
  • ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุอยู่ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่นั้น ๆ แต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้
  • เป็นผู้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น เช่น 
    • ซื้อคอนโดมิเนียม ในวันที่ 25 ธันวาคม 2565 จะต้องเสียภาษีที่ดินในปี 2566 เพราะถือว่าได้ครอบครองภายในวันที่ 1 มกราคม 2566
    • ซื้อบ้าน ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 จะยังไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน 2566 เพราะยังไม่ได้ครอบครองในวันที่ 1 มกราคม 2566 แต่ต้องไปเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2567
  • กรณีเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเป็นคนละคนกัน ให้ต่างคนต่างเสียภาษีเฉพาะส่วนที่ตัวเองเป็นเจ้าของ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2566 จ่ายเท่าไหร่

สำหรับอัตราการเก็บภาษีที่ดิน จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่พักอาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยคิดในแบบขั้นบันได เพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน ดังนี้

1. ที่ดินเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%

           ที่ดินเกษตรกรรม คือ การใช้ที่ดินเพื่อทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าจะปลูกต้นไม้อะไรก็ได้ ปลูกกี่ต้นก็ได้ แต่จริง ๆ แล้วต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยระบุไว้ เช่น

  • ปลูกกล้วย ขั้นต่ำ 200 ต้น/ไร่
  • ปลูกกาแฟ พันธุ์โรบัสต้า ขั้นต่ำ 170 ต้น/ไร่, พันธุ์อาราบิก้า ขั้นต่ำ 533 ต้น/ไร่
  • ปลูกขนุน ขั้นต่ำ 25 ต้น/ไร่
  • ปลูกมะม่วง, มะพร้าว, ทุเรียน, ลิ้นจี่, ลำไย ขั้นต่ำ 20 ต้น/ไร่ 
  • ปลูกมะนาว ขั้นต่ำ 50 ต้น/ไร่

          อ่านหลักเกณฑ์และรายละเอียดของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ได้ ที่นี่

อัตราภาษีที่ดินเกษตรกรรมปี 2566

  • กรณีเจ้าของที่ดินเป็นบุคคลธรรมดา :

          • หากมีที่ดินทำการเกษตร มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี

          • หากมีที่ดินทำการเกษตร มูลค่าเกิน 50 ล้าน จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรก/เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ส่วนเกิน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษีตามอัตราปกติ

  • กรณีเจ้าของที่ดินเป็นนิติบุคคล : เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ คือ
ตัวอย่าง
·         นาย B เป็นเจ้าของสวนผลไม้ มูลค่า 15 ล้านบาท จะไม่ต้องเสียภาษีที่ดินในปี 2566 เพราะได้รับการยกเว้น 50 ล้านบาทแรก/อปท.
·         นาย C เป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรม มูลค่า 60 ล้านบาท ดังนั้น 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนอีก 10 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี 0.01% เท่ากับต้องจ่าย 1,000 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษีเพียง 850 บาท
·         บริษัท A เป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรม มูลค่า 20 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีที่ดินอัตรา 0.01% คือ 2,000 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษีเพียง 1,700 บาท
           หมายเหตุ : ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพมหานครต้องจับตาดูว่าในปี 2566 จะมีการปรับอัตราการเก็บภาษีที่ดินเกษตรกรรมที่เพดานสูงสุด 0.15% ตามเกณฑ์โซนสีผังเมืองหรือไม่ หลังจากช่วงที่ผ่านมาพบการใช้ที่ดินผิดประเภท โดยนำที่ดินที่มีมูลค่าสูงในย่านศูนย์กลางธุรกิจมาปลูกพืชทำเกษตรกรรม เช่น ปลูกกล้วยใจกลางเมือง เพื่อหลบเลี่ยงภาษี ทำให้ทาง กทม. กำลังหารือและพิจารณาออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดเก็บภาษีให้สูงขึ้น
2. ที่พักอาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.30%

          คำว่า “ที่พักอาศัย” ตามกฎหมายฉบับนี้ หมายถึงกรณีดังต่อไปนี้

  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัย หรือให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย 
  • ครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น
  • บ้านเช่า หอพัก อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดที่ปล่อยเช่ารายเดือน (แต่ถ้าเป็นบ้านหรือห้องพักให้เช่าเป็นรายวัน จะจัดอยู่ในหมวดใช้ประโยชน์เพื่อการอื่น ๆ ซึ่งเสียภาษีแพงกว่า)
  • โฮมสเตย์ ซึ่งเป็นสถานที่พักชั่วคราวที่เจ้าของดัดแปลงเป็นห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน จัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร และเป็นการพักรวมกับเจ้าของในชายคาเดียวกัน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม

          โดยการจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยจะแบ่งเป็น 3 กรณี คือ

2.1 บ้านหลังหลัก (บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

           บ้านหลังหลัก คือ เราเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน กรณีนี้จะได้รับยกเว้นภาษีในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้ามีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ

    ตัวอย่าง

    • มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 3 ล้านบาท : ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
    • มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 20 ล้านบาท : ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
    • มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 50 ล้านบาท : ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
    • มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 60 ล้านบาท : ทรัพย์สินส่วน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนที่เหลืออีก 10 ล้านบาท นำมาคำนวณภาษี 0.03% เท่ากับต้องเสียภาษี 3,000 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษี 2,550 บาท
    • มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 90 ล้านบาท : ทรัพย์สินส่วน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี ส่วน 25 ล้านบาทต่อมา นำมาคำนวณภาษี 0.03% เท่ากับ 7,500 บาท และส่วน 20 ล้านบาทสุดท้าย คิดอัตรา 0.05% เท่ากับ 10,000 บาท รวมเสียภาษี 17,500 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษี 14,875 บาท

    2.2 บ้านหลังหลัก (บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

              ประเภทที่สอง คือ เป็นบ้านหลังหลักที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม 2565 แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เช่น ซื้อคอนโดมิเนียม หรือคนที่สร้างบ้านอยู่บนที่ดินเช่า กรณีนี้จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตรานี้

    ตัวอย่าง

    • มีคอนโดมิเนียม มูลค่า 5 ล้านบาท และมีชื่อในทะเบียนบ้าน : ไม่ต้องเสียภาษี
    • มีบ้านบนที่ดินเช่า มูลค่า 30 ล้านบาท และมีชื่อในทะเบียนบ้าน : 10 ล้านบาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่เหลือ 20 ล้านบาท จะนำมาคิดภาษีที่ 0.02% เท่ากับต้องเสียภาษี 4,000 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษี 3,400 บาท

    2.3 บ้านหลังอื่น ๆ เช่น บ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป หรือบ้านที่ไม่มีชื่อเราอยู่ในทะเบียนบ้าน

              ส่วนคนที่มีบ้านหลายหลัง ไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน การเป็นเจ้าของที่ดินหรือบ้านตั้งแต่หลังที่ 2 เป็นต้นไป จะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ได้รับการยกเว้น ดังนี้

    ตัวอย่าง

    • มีบ้านหลังที่ 2 มูลค่า 5 ล้านบาท : เสียภาษี 0.02% คือ 1,000 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษี 850 บาท
    • มีบ้านหลังที่ 3 มูลค่า 60 ล้านบาท : ส่วน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษี 0.02% คือ 10,000 บาท ที่เหลืออีก 10 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% เท่ากับ 3,000 บาท รวมแล้วต้องเสียภาษี 13,000 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษี 11,050 บาท
    • มีบ้านหลังที่ 2 มูลค่า 90 ล้านบาท : ส่วน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษี 0.02% คือ 10,000 บาท ส่วน 25 ล้านบาทถัดมา เสียภาษี 0.03% คือ 7,500 บาท และที่เหลืออีก 20 ล้านบาท คิดอัตรา 0.05% คือ 10,000 บาท รวมเสียภาษีทั้งหมด 27,500 บาท แต่ในปี 2566 ได้ส่วนลด 15% จึงเสียภาษี 23,375 บาท

              หมายเหตุ : หากเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมรดกมาจะได้ลดภาษีอีก 50%

             หมายถึง เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาได้รับมรดกเป็นบ้านพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย หากจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2562 จะได้ลดภาษีที่ดิน 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย

             เช่น นางสาว A ได้รับมรดกที่ดินพร้อมบ้าน มูลค่า 60 ล้านบาท โดยเป็นบ้านหลังหลัก มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 กรณีนี้จะได้รับยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก ส่วนเกินอีก 10 ล้านบาท จะเสียภาษี 0.03% คิดเป็น 3,000 บาท แต่ได้ลดภาษี 50% เหลือจ่ายภาษีเพียง 1,500 บาท และในปี 2566 ก็ยังได้ลดเพิ่มอีก 15% ดังนั้นเหลือจ่ายภาษีจริง ๆ คือ 1,275 บาท

    3. ที่ดินใช้ประโยชน์อื่น นอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย เพดานภาษีสูงสุด 1.20%

               การเก็บภาษีในประเภทนี้จะหมายถึง ที่ดินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น ใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน หอพักรายวัน บ้านเช่ารายวัน โดยต้องเสียภาษีตามอัตราต่อไปนี้

    ตัวอย่าง

    • มีร้านค้า มูลค่า 5 ล้านบาท : เสียภาษี 0.3% หรือ 15,000 บาท
    • มีร้านอาหาร มูลค่า 20 ล้านบาท : เสียภาษี 0.3% หรือ 60,000 บาท และในปี 2566 จะได้ลด 15% เหลือ 51,000 บาท

    4. ที่รกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 3%

              กรณีมีที่ดินเปล่าแต่ปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้ใช้ทำเกษตรกรรม ไม่ได้ปลูกสร้างอาคาร หรือใช้ประกอบกิจการใด ๆ จะถูกจัดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสียภาษีแพงที่สุด คือ

              นอกจากนี้ หากเจ้าของที่ดินปล่อยรกร้างไว้นานติดต่อกัน 3 ปี เมื่อไปเสียภาษีในปีที่ 4 จะถูกเก็บเพิ่มอีก 0.3% และจะเพิ่มอัตราภาษีอีก 0.3% ในทุก ๆ 3 ปีที่ปล่อยที่ดินทิ้งไว้โดยไม่นำมาทำประโยชน์อะไร แต่โดยรวมทั้งหมดแล้วจะเก็บภาษีได้ไม่เกิน 3% ซึ่งเป็นเพดานสูงสุด

              เท่ากับว่าในปี 2566 จะเป็นปีที่ครบกำหนด 3 ปีพอดีนับตั้งแต่ประกาศใช้กฎหมายภาษีที่ดินปี 2563 นั่นหมายความว่า ถ้าเจ้าของที่ดินปล่อยที่ดินไว้เฉย ๆ มาตั้งแต่ปี 2563 เมื่อมาถึงปี 2566 จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีก 0.3%

    ตัวอย่าง

    • มีที่ดินรกร้าง มูลค่า 10 ล้านบาท : เสียภาษี 0.3% หรือ 30,000 บาท แต่ถ้าที่ดินผืนนี้ถูกปล่อยทิ้งไว้จนครบ 3 ปีแล้ว ในปี 2566 จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% คือจ่ายเพิ่มอีก 30,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาท อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่ดินยังจะได้ลดภาษีอีก 15% เหลือจ่ายจริง 51,000 บาท
    • มีที่ดินรกร้าง มูลค่า 60 ล้านบาท : ส่วน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษี 0.3% หรือ 150,000 บาท ที่เหลืออีก 10 ล้านบาท เสียภาษี 0.4% คือ 40,000 บาท รวมทั้งหมดต้องจ่าย 190,000 บาท แต่ถ้าที่ดินผืนนี้ถูกปล่อยทิ้งไว้จนครบ 3 ปีแล้ว ในปี 2566 จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% จาก 60 ล้านบาท คิดเป็น 180,000 บาท รวมแล้วต้องเสียภาษี 370,000 บาท ทั้งนี้ ยังจะได้ลดภาษีอีก 15% ตามมติ ครม. จึงจ่ายจริง 314,500 บาท

    * หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 20 ธันวาคม 2565

    ขอบคุณภาพจาก : กระทรวงการคลังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 
    ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์สำนักงานเศรษฐกิจการคลังสำนักการคลัง กรุงเทพมหานครฐานเศรษฐกิจเฟซบุ๊ก ท้องถิ่นไทยราชกิจจานุเบกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : Fiscal Policy Office

    สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

    Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

    ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

    Genz Consutant Co., Ltd