วันนี้แอดมินจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นอัตราการเก็บภาษีจากการเข้าใช้ประโยชน์บนที่ดิน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้ ที่ดินใช้ประโยชน์ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ที่ดินเพื่อการเกษตร ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ดินสำหรับการใช้ประโยชน์อื่นๆ และที่ดินรกร้าง เป็นต้น จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
ภาษีบ้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ภาษีที่ดิน แต่บางคนอาจจะเรียกว่า ภาษีบ้าน หรือภาษีที่อยู่อาศัย ซึ่งจะมีการจัดเก็บเป็นรายปีในทุกๆ ปี และจะคิดตามมูลค่าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม หรืออาคารสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้ และมีงบประมาณในการพัฒนาท้องที่ เป็นต้น ดังนั้น การจัดเก็บภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
- ที่ดินเพื่อการเกษตร
ที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นการใช้ประโยชน์ของที่ดินสำหรับเกษตรกรรมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำไร่ ทำสวน ทำนา การเลี้ยงปศุสัตว์ หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงการทำสวนป่า นาเกลือ และการเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการบริโภค จำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม ซึ่งที่ดินสำหรับการเกษตร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม ถ้าหากเป็นบริษัทจะต้องขึ้นทะเบียนการทำเกษตรกรรม และถ้าเป็นส่วนบุคคลธรรมดาจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร
- ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย
ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของอยู่เอง โดยจะต้องมีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ และทะเบียนบ้าน รวมถึงบ้านหลังอื่นๆ ที่เจ้าของมีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ก็จะต้องจ่ายภาษีที่อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน
- ที่ดินสำหรับการใช้ประโยชน์อื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ อย่างการให้เช่าอยู่อาศัยแบบรายเดือน เช่น บ้านเช่า หอพัก คอนโดมิเนียม อาคารพาณิชยกรรม อาคารห้องชุด และโรงแรม เป็นต้น รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบอื่นๆ ก็ต้องเสียภาษีที่อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน
- ที่ดินรกร้าง
สำหรับที่ดินรกร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งร้าง ทำให้ไม่ได้ใช้งานที่ดินให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร หรือที่ดินนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่กลับปล่อยให้ที่ดินว่างตลอดทั้งปีก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน ยกเว้นกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ หรือพ้นวิสัยจนไม่สามารถทำประโยชน์ได้ ถ้าหากทิ้งที่ดินให้รกร้างไว้นาน 3 ปีติดต่อกัน ส่งผลให้อัตราในการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
โดยจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่ไม่เกิน 3% ซึ่งสำหรับที่ดินที่อยู่ระหว่างเตรียมการ เพื่อใช้ประโยชน์ หรือสิ่งปลูกสร้างที่กำลังก่อสร้าง รวมถึงที่ดินที่ถูกรอนสิทธิตามกฎหมาย อยู่ระหว่างพิจารณาคคี หรือมีคำสั่งจากศาล จะไม่ถือว่าเป็นที่ดินผืนนั้นเป็นที่ดินรกร้าง
และอัตราการจัดเก็บภาษีบ้าน ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างนั้นจำแนกตามประเภท และประโยชน์ในการใช้งานที่ดิน ซึ่งจะคำนวณแบบขั้นบันได ตามมูลค่าของฐานภาษีแต่ละขั้น ถ้าหากที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างมีราคาประเมินสูง ก็จะจ่ายแพงขึ้นตามอัตราภาษีที่รัฐได้กำหนดไว้ แต่ถ้าหากที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างมีการใช้ประโยชน์ที่หลายอย่าง ก็จะคิดตามสัดส่วนในการทำประโยชน์แต่ละประเภทค่ะ
ที่มา:ทำความเข้าใจภาษีบ้าน และที่อยู่อาศัยอย่างง่าย! เข้าใจได้ใน 10 นาที | AP Thai
“ถ้าคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านวิจัยพัฒนาอสังหาฯ มองมาที่เรา GenZ Property“
☎️ สนใจติดต่อ:
📲 096-789-9662 (ดร.ปู)
📲 098-236-9365(คุณปอ)
📲 Line : @GentZProperty
#service #Consultant #property #investment #management #GenZ #Genzproperty
#บริการ #ปรึกษา #อสังหาริมทรัพย์ #อสังหาฯ #นักลงทุน #บริหารธุรกิจ #รับปรึกษา #ครบวงจร