ขายฝากคืออย่างไร

ขายฝากคืออย่างไร

การขายฝากเป็นอย่างไร ? ส่งผลร้ายต่อประชาชนในด้านทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์อย่างไร ? กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการขายฝากจะช่วยอะไรเราได้บ้าง ?

ดร.โสภณ พรโชคชัย กล่าวถึงการขายฝาก โดยอ้างอิงไว้ว่า 

ขายฝาก (repurchase, redemption หรือ sale with right of redemption) เป็นสัญญาซื้อขายรูปแบบหนึ่งซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้ออยู่ดังสัญญาซื้อขายทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่ผู้ขายอาจไถ่ (repurchase, buy back หรือ redeem) ทรัพย์สินนั้นคืนไปได้ ที่ผู้คนเลือกขายฝากทรัพย์สินกันนั้น อาจเป็นเพราะเมื่อมีความจำเป็นทางการเงินและต้องกู้หนี้ยืมสินแล้ว ผู้ให้กู้มักเรียกให้นำทรัพย์สินหรือบุคคลมาประกันการชำระหนี้ด้วย กล่าวคือ ให้นำทรัพย์สินมาจำนองหรือจำนำ หรือนำบุคคลมาค้ำประกัน แต่บ่อยครั้งที่หลักประกันเหล่านี้ไม่ช่วยรับรองว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ดังใจ เพราะทรัพย์สินยังคงเป็นคงผู้จำนองหรือจำนำอยู่ กับทั้งตามกฎหมายแล้ว ผู้ค้ำประกันยังมีสิทธิอ้างด้วยประการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ให้กู้ไปเรียกชำระหนี้จากผู้กู้เสียก่อนได้ เป็นต้น”

นับตั้งแต่ปี 2562 ก็ได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมาประชาชนเสียเปรียบในการขายฝากเป็นอันมาก โดย “ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ระบุว่า สถิติการขายฝากตั้งแต่ปี 2556-2560 การจดทะเบียนขายฝาก โดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 66,521 ราย โดยมีกรณีตัวอย่างการขายฝากที่ดินให้กับนายทุนเงินกู้ในหลายจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไข โดยจัดให้มีกลไกการเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้” 

สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสตูลได้สรุป สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ

  • ข้อตกลงใดที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายนี้ เป็นโมฆะ
  • การขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นเป็นโมฆะ
  • เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี
  • สัญญาขั้นต่ำ 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
  • ผู้ขายขอไถ่ก่อนได้ โดยได้ลดราคาตามส่วนของระยะเวลาไถ่ที่ลดลง แต่ผู้ซื้อเรียกค่าเสียโอกาสได้ไม่เกิน 2%ต่อปี
  • ถ้าผู้ซื้อไม่รับไถ่ ผู้ขายไปวางทรัพย์ได้ที่สำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินที่จดทะเบียน
  • ก่อนครบกำหนด 3-6 เดือน ผู้ซื้อต้องแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนให้ผู้ขายฝากทราบ
  • กฎหมายใหม่ ไม่มีผลต่อสัญญาที่ทำก่อนหน้านี้ ยกเว้น กรณีเมื่อครบกำหนดสัญญา ผู้ซื้อต้องแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนตอบรับดังที่กล่าวมา

เทศบาลตำบลท่าช้างยังสรุปเพิ่มเติมว่า

  • ผู้ขายฝากต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
  • การขายฝากต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ณ สำนักงานที่ดิน)
  • กำหนดให้หนังสือสัญญาขายฝากต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้ ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา รายการและลักษณะแห่งทรัพย์สินที่ขายฝาก ราคาที่ขายฝาก จำนวนสินไถ่ (คำนวณเป็นดอกเบี้ยสูงสุดต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี) และวันที่ขายฝากและกำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่
  • สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนจะขายคืน มีคำมั่นว่าจะขาย หรือมีสัญญาจะขายคืน หรือเงื่อนไขทำนองเดียวกันให้ถือว่าสัญญาขายฝากตาม พ.ร.บ. นี้
  • มีกำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเกิน 10 ปีไม่ได้ (ถ้าต่ำหรือเกินให้ถือว่ามีกำหนด 1 ปี หรือ 10 ปี)
  • ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ได้
  • คดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการขายฝากเป็นคดีผู้บริโภค + ผู้ขายฝากเป็นผู้บริโภค

อ้างอิง : https://trebs.ac.th/

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd