การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ โดยใช้ข้อมูลการสืบค้นบนสื่อออนไลน์จาก Pulsar Platform และ Google Trends ทั้งนี้การสำรวจของ Pulsar Platform ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการดำรงชีวิตแบบปรกติใหม่ของคนทั่วโลกที่เกิดขึ้นสามรูปแบบ คือ พฤติกรรมเริ่มแล้วเลิก พฤติกรรมเริ่มแล้วทำต่อ และกระแสรองเป็นกระแสหลัก ขณะที่ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมชีวิตแบบปรกติใหม่ของสังคมไทยที่ปรากฏอยู่ใน Google Trends มี 4 ด้าน คือ วิถีชีวิต สุขภาพ เศรษฐกิจ และนันทนาการ
การสำรวจของข้อมูลทั้งสองส่วนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดำรงชีวิต แบบปรกติใหม่สามรูปแบบ คือ 1) พฤติกรรมเริ่มแล้วเลิก มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สุขภาพเศรษฐกิจ และนันทนาการ 2) พฤติกรรมเริ่มแล้วทำต่อ มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต และเศรษฐกิจ และ 3) พฤติกรรมกระแสรองเป็นกระแสหลัก มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และนันทนาการ จากความสัมพันธ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมชีวิตแบบปรกติใหม่ของสังคมไทยที่มีโดดเด่นมากมี 4 อย่าง ได้แก่ การศึกษาแบบออนไลน์ การดูแลบ้านตามสื่อออนไลน์ พร้อมเพย์ และติ๊กต๊อก ซึ่งจะ กลายเป็นพฤติกรรมวิถีชีวิตปรกติใหม่ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต และเมื่อนำพฤติกรรมวิถีชีวิตปรกติใหม่เหล่านี้ มาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ที่มีการค้นหาในสื่อออนไลน์มากที่สุด ด้วยวิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณร่วมกับคุณภาพการศึกษาความเป็นเมือง และบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า มีความสัมพันธ์ของพฤติกรรมวิถีชีวิตปรกติใหม่อย่างมีนัยสำคัญเฉพาะด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และ นันทนาการ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม Downloadfile