การประเมินค่าเรือ

Gen Z Property

เคยสงสัยกันหรือเปล่า ว่าเรือที่เราเห็นขนสินค้ากัน เราจะประเมินค่าเรือได้อย่างไร เรือที่เราพูดกันถึงหมายรวมตั้งแต่เรือเดินทะเล เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ เรือลากเรือ เรือลากจูง เรือยอร์ช หรือวัตถุลอยน้ำที่ใช้บรรทุกสิ่งของต่างๆ

ดร.โสภณ พรโชคชัย ได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่าเรือเดินทะเลโดยเริ่มต้นพิจารณาจากผู้ผลิต รุ่น และความจำเพาะ-เงื่อนไขต่างๆ  เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า ถ้าเรืออยู่ในสภาพดี หรือเพิ่งผลิต ก็สามารถใช้วิธีต้นทุนได้ไม่ยาก  แต่ถ้าเรือที่อยู่ในสภาพไม่ดี ใช้งานมานานพอสมควรแล้ว หรือขาดการบำรุงรักษาเท่าที่ควร ราคาก็คงจะตกต่ำลงไปมาก ยิ่งไปกว่านั้น ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต ประสิทธิภาพ และความนิยมของรุ่นนั้น ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการพิจารณามูลค่าของเรืออีกด้วย

การประเมินค่าเรือก็คล้ายกับการประเมินค่าทรัพย์สินอื่นๆ ที่เราต้องพิจารณาถึงสภาวะตลาด ตัวอย่างเช่น เมื่อการประมงไทยกำลังเฟื่องฟู ราคาเรือประมงก็สูงตามไปด้วย  อาจกล่าวได้ว่ามูลค่าของเราจะสูงกว่าเมื่อเศรษฐกิจดี แต่ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ เรือก็ไม่ค่อยได้รับความต้องการ ทำให้มูลค่าที่ประเมินได้ตกต่ำตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามผู้ประเมินก็พึงพิจารณาถึงภาวะตลาดให้ชัดเจน เช่น เรือที่ใช้ขนถ่ายน้ำมัน หากการขนส่งนี้ยกเลิกไป หรือหดตัวตกต่ำลง เรือนั้นๆ จะนำไปใช้ในกิจการเรือประเภทอื่นที่ยังอยู่ในภาวะที่ดีได้หรือไม่ เป็นต้น

ในการผลิตเรือลำหนึ่ง อาจมีค่าแรงกับค่าเครื่อง ค่าอุปกรณ์ประกอบเรืออยู่ในองค์ประกอบที่ 40 : 60 โดย 40 คือค่าแรงนั่นเอง ที่ค่าแรงแพงเพราะมักประกอบในต่างประเทศ เช่น ไปประกอบเรือที่เกาหลี ค่าแรงจึงแพงกว่าค่าแรงในไทย เช่น คนทาสีอาจมีค่าแรงเดือนละ 70,000 – 80,000 บาท แต่เครื่องยนต์ อาจเป็นเครื่องยันมาร์จากประเทศญี่ปุ่น แต่ส่วนมากไม่ไปประกอบที่ญี่ปุ่นเพราะค่าแรงในญี่ปุ่นแพงหนักกว่าในเกาหลีเสียอีก  ในประเทศไทยก็สามารถต่อเรือเองได้บ้าง แต่ไม่นิยมต่อเรือในไทย เพราะเครื่องจักรต่างๆ ต้องนำเข้า (ไม่ใช่แบบจีนที่ทำเองได้แทบทุกอย่าง) ทำให้ต้นทุนอาจแพงพอๆ กับการไปสั่งทำจากต่างประเทศ

ปกติแล้ว เรือลำหนึ่งมีอายุใช้งานประมาณ 25 ปี หลังจากนั้น ก็อาจปลดระวางจากการใช้งาน หรือนำเรือไปซ่อมใหญ่เพื่อใช้ในธุรกิจที่ต้องการคุณภาพเรือที่ต่ำกว่า ราคาซากเมื่ออายุครบ 25 ปีอาจไม่ถึง 10% ของต้นทุนค่าก่อสร้าง นอกจากนี้เรายังอาจขายเครื่องจักรต่างๆ ภายในเรือเป็นชิ้นๆ ไป  บางทีการขายชิ้นส่วนทีละชิ้นอาจได้มูลค่ามากกว่าการขายเหมาไปก็ได้ กรณีนี้ก็เช่นเดียวกันกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ ที่เวลาขายซากของทรัพย์สินแยกส่วน อาจจะมีราคามากกว่าการขายเหมารวม ก็เป็นไปได้เช่นกัน  อาจกล่าวได้ว่าเรือต่างๆ ไม่ค่อยตกยุคเหมือนเครื่องบิน เพราะเทคโนโลยีการเดินเรือก็ได้มาตรฐานที่ดีมานาน ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก   

ในการประเมินค่าเรือ เรายังอาจพิจารณาวิธีรายได้ด้วยก็ได้ โดยถือสมมติฐานว่าการตัดสินใจลงทุน (ซื้อ/ต่อเรือ) ขึ้นอยู่กับมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ในอนาคตที่จะได้รับจากการลงทุนและมูลค่าของสินทรัพย์หนึ่งๆ จะแสดงด้วยมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต เช่น ถ้านำเรือนี้ไปรับจ้างขนสินค้า ตลาดของสินค้านั้นๆ  จะมีอนาคตมากน้อยเพียงใด มีรายได้จากการขนส่งมากแค่ไหนในแต่ละปี การเปลี่ยนแปลงของรายได้ในอนาคตจะเป็นอย่างไร เทียบกับต้นทุนค่าซื้อ/ต่อเรือดังกล่าวมาแล้ว อัตราผลตอบแทนดังกล่าวคุ้มค่าหรือไม่ เป็นต้น

ขอบคุณเนื้อหาจาก trebs.ac.th

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd