1. SWOT Analysis
ทุกครั้งที่มีการทำแผน ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันแบะปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจเสียก่อน การวิเคราะห์นี้เรียกว่าการทำ SWOT Analysis ซึ่งย่อมากจาก
🔸Strength (S) จุดแข็ง คือการวิเคราะห์จุดแข็งขององค์กร ว่าเรามีความโดเด่นอะไรที่เหนือหรือแตกต่างจากคู่แข่งอื่นบ้าง เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการขยายธุรกิจต่อไป สิ่งที่สามารถเป็นจุดแข็งขององค์กรได้ เช่น จำนวนฐานลูกค้า ทีมขาย ความเชี่ยวชาญในพื้นที่การขาย ความเข้าใจในพฤติกรรมและรสนิยมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เงินทุน ที่ตั้งของร้านอยู่ใกล้/เข้าถึงได้ง่ายกว่า มีกำลังการผลิตสูงกว่า เป็นต้น
🔸Weakness (W) จุดอ่อน คือการวิเคราะห์หาจุดอ่อนขององค์กร เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการทำธุรกิจไปในทิศทางนั้น เช่น องค์กรมีพนักงานน้อย การกำหนดกลยุทธการขายจึงควรหลีกเลี่ยงวิธีขายแบบตัวต่อตัว แต่ให้เลือกใช้ช่องทางออนไลน์แทน
🔸Opportunity (O) โอกาส คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีผลเชิงบวกแก่ธุรกิจของเราในอนาคต เช่น จำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นก็จะเป็นผลดีกับธุรกิจบางประเภท หรือการขึ้นภาษีน้ำตาลจากภาครัฐจะเป็นโอกาสดีสำหรับธุรกิจผลิตภัณฑ์ให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นต้น
🔸Threats (T) ภัยคุกคาม คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลเชิงลบกับธุรกิจ เช่นคนกัลวลเรื่องอันตรายจากการบริโภคน้ำตาลมากขึ้น จะส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน หากเราอยู่ในธุรกิจนี้จึงต้องหาทางลดความเสี่ยงจากการมีรายได้ในธุรกิจนี้
2. เป้าหมายขององค์กร
จุดสำคัญที่สุดของการทำแผนธุรกิจคือการกำหนดเป้าหมายขององค์กรว่าในแต่ละปีเราจะทำอะไรไปเพื่ออะไร และถ้าจะให้ได้ผลสูงสุดการกำหนดเป้าหมายนี้ควรให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมกันทำ เพื่อให้เกิด commitment หรือพันธสัญญาร่วมกัน
เป้าหมายหลักๆที่ควรกำหนดให้ชัดเจนคือ ยอดขาย กำไร และความพึงพอใจของลูกค้า
3. แผนการตลาด
แผนการตลาดจะบอกทิศทางการทำการตลาดตลอดปี ตั้งแต่การปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์?(ถ้าจำเป็น) แผนการออกสินค้า แผนโปรโมทสินค้า ส่งเสริมการขาย การวางแผนสื่อ และงบประมาณที่ต้องใช้ตลอดทั้งปีเพื่อให้การใช้เงินนั้นคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
4. แผนการขาย
แผนงานสำคัญที่จะบอกว่า เพื่อให้ได้มาซึ่งยอดขายรวมที่เป็นเป้าหมายหลักขององค์กร (จากข้อ 2.) เราต้องทำอะไรบ้าง เช่นควรเพิ่มความสำคัญกับช่องทางการขายไหนมากขึ้น หรือควรเลิกขายลูกค้ารายใดบ้างเพื่อให้ทีมไปโฟกัสกับลูกค้าที่มีโอกาสมากกว่า
5. แผนการผลิต/สั่งซื้อสินค้า
แผนการผลิตหรือการสั่งซื้อสินค้าคือแผนงานสำคัญที่ SME มันมองข้าม เพราะมัวแต่ให้ความสำคัญกับการขายและการตลาด แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวางแผนการผลิตหรือสั่งซื้อที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมหาศาลโดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบตามฤดูกาลที่จำเป็นต้องมีการวางแผนสั่งซื้อที่ประสิทธิภาพเพื่อให้ได้สินค้าทีมีคุณภาพและราคาที่ดีที่สุด
6. แผนการเงิน
แผนที่ควบคุมการบริหารรายรับและรายจ่ายของบริษัท โดยเป็นการปริมาณการสภาพคล่องและปริมาณเงินสดหมุนเวียนของบริษัทให้มีเพียงพอสำหรับการดำเนินงาน แผนการเงินมีความสำคัญมากเพราะหากบริหารไม่ดีจนบริษัทขาดเงินสดสำหรับใช้จ่ายบริหารงาน การทำงานของบริษัทจะสะดุดและอาจเกิดผลเสียทางด้านภาพลักษณ์ขององค์กรได้ และในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการดำเนินงานมากกว่ากรณีปกติ เช่นต้องการขยายกำลังการผลิต การวางแผนทางการเงินเพื่อหาเงินกู้มาเสริมสภาพคล่องจึงเป็นสิ่งที่ต้องถูกใส่ไว้ในแผนการบริหารการเงินประจำปีด้วย
การมีแผนธุรกิจที่ดีนอกจากจะช่วยให้ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานแล้ว ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรด้วยเมื่อต้องติดต่อหรือทำงานร่วมบุคคลภายนอก เพราะนั่นหมายถึงความมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน และช่วยให้ผู้รับฟังแผนได้เข้าใจถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับองค์กรในอนาคต
🔸
Website : www.gentzproperty.com
Tel : Dr.Poo 096-7899662 / Kat 094-6962168
Line Official : https://lin.ee/G2mOxLf