รู้เท่าทันภาษีมรดก

รู้เท่าทันภาษีมรดก

“ที่ใดมีเงินได้ ที่นั่นมีภาษี” เป็นคำพูดที่ไม่เกินจริงเลย ที่ว่าเมื่อเราได้รับเงินมา ไม่ว่าจะจากช่องทางใด ก็จะต้องมีการเสียภาษีเกิดขึ้น แม้ว่าเงินนั้นจะมาจากมรดกตกทอดก็ตาม แต่ก็มีเงื่อนไขพิเศษในการเสียภาษีมรดกเช่นเดียวกัน วันนี้แอดมินจะมาอธิบายไขข้อข้องใจเกี่ยวกับภาษีมรดกให้เพื่อนๆได้ทราบกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาษีมรดกที่ดิน หรือกองมรดกคิดอย่างไร หรือต้องเสียภาษีมรดกกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อที่เพื่อนๆจะได้วางแผนการเงินล่วงหน้า และเตรียมพร้อมในการรับมอบมรดกอย่างสมบูรณ์แบบ 

ภาษีมรดกคืออะไร?

ภาษีมรดก คือ ภาษีส่วนบุคคลที่จะถูกเรียกเก็บเมื่อมรดกจากผู้ตายถูกส่งต่อให้แก่บุพการี ทายาท หรือแม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางสายเลือดแต่ได้รับมรดกส่วนนั้น ตามพระราชบัญญัติภาษีมรดก พ.ศ. 2558 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกจากผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน หรือมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ต้องเสียภาษีมรดก

โดยฐานภาษีจะคิดจากมูลค่าทรัพย์มรดก และอัตราที่ต้องเสียจะไม่เท่ากัน ดูจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ตาย ซึ่งจะคิดจากมูลค่าทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ การเสียภาษีมรดกก็เพื่อที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำเรื่องความมั่งคั่งในฐานะทางสังคมนั่นเอง

ทรัพย์สินไหนบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก

มรดกที่ได้รับมาซึ่งจำเป็นต้องเสียภาษี มีดังนี้

  • อสังหาริมทรัพย์ จำเป็นต้องเสียภาษีมรดกซึ่งก็คือ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทั้งในไทยและในต่างประเทศ
  • หลักทรัพย์ตามกฎหมาย ได้แก่ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยหรือต่างประเทศ
  • เงินฝาก
  • ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานการจดทะเบียน
  • ทรัพย์สินทางการเงิน

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก และเสียกี่เปอร์เซ็นต์

คนที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก มีดังนี้

  • เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
  • เป็นบุคคลที่ถือสัญชาติอื่น แต่อาศัยอยู่ในประเทศไทยตามกฎหมาย
  • เป็นบุคคลที่ถือสัญชาติอื่น แต่รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย
  • เป็นนิติบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนในไทย หรือมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการเสียภาษีมรดกจะจำแนกอัตราภาษีตามความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้วย ก็อาจจะเกิดข้อสงสัยตามมาว่า หากเราได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกกี่เปอร์เซ็น ซึ่งรายละเอียดนั้นมีดังนี้

  • บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียอัตราภาษีมรดก 5 เปอร์เซ็นต์
  • ผู้ที่ไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียอัตราภาษีมรดก 10 เปอร์เซ็นต์

โดยในที่นี้จะกำหนดให้ต้องเสียอัตราภาษีการรับมรดกเมื่อส่วนเกินของมูลค่านั้นมากกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ก็ยังมีการเสียภาษีการให้ที่ควบคู่กับภาษีมรดกด้วย ซึ่งเป็นการที่ผู้ตายได้มอบโอนทรัพย์สินแก่ผู้รับก่อนที่จะเสียชีวิต อัตราการเสียภาษีมรดกจะอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ในบุพการีหรือผู้สืบสันดานที่ได้รับทรัพย์สินส่วนเกินมูลค่า 20 ล้านบาท แต่ถ้าหากไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะเสียอัตราภาษีมรดกที่ 5 เปอร์เซ็นต์ จากส่วนเกินมูลค่าของทรัพย์สิน 10 ล้านบาท โดยทั้งหมดจะเป็นในส่วนของสังหาริมทรัพย์

วิธีคำนวณภาษีมรดก

การคำนวณภาษีมรดกไม่ยากอย่างที่คิด และควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อเป็นการวางแผนการส่งมอบมรดกให้แก่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือผู้ที่ต้องการให้คนอื่นๆ ซึ่งอัตราภาษีที่ต้องคิดก็จะแตกต่างกันออกไปตามแบบที่กล่าวไว้

สิ่งสำคัญ คือ จะต้องคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับก่อนว่าเกิน 100 ล้านบาทหรือไม่ จะใช้การประเมินของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก หรือราคาประเมินของกรมที่ดินก็ได้ นอกจากนี้ ก็จะมีราคาประเมินทรัพย์สินอื่นๆ เพิ่มเติมที่สามารถศึกษาได้จากกรมสรรพากร เมื่อนำมูลค่ามรดกที่ประเมินพร้อมหักหนี้สินตามที่เจ้าของมรดกมีแล้วทั้งหมดไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีมรดก แต่ถ้าหากเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีตามนี้

คำนวณภาษีมรดกอัตราคงที่ 5%

ในบุพการีหรือผู้สืบสันดาน มีอัตราภาษีมรดกที่ต้องเสียอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนเกินมูลค่า 100 ล้านบาท เช่น ผู้ตายส่งมอบมรดกให้แก่ทายาทในจำนวน 150 ล้านบาท สูตรการคำนวณภาษีมรดก คือ

  • ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่ามรดกสุทธิที่ได้รับ – 100 ล้านบาทที่กำหนดไว้ว่าไม่ต้องเสียภาษี) x 5%
  • ภาษีที่ต้องจ่าย = (150 – 100) x 5%
  • ภาษีที่ต้องจ่าย = 2.5 ล้านบาท

ตัวอย่างเพิ่มความชัดเจน เช่น

  • มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 600 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 25 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (600 – 100) x 5%
  • มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 880 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 39 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (880 – 100) x 5%
  • มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 45 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (1,000 – 100) x 5%

คำนวณภาษีมรดกอัตราคงที่ 10%

หากผู้ที่ได้รับมรดกไม่ได้เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้ตาย คือ ไม่ได้เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน อัตราภาษีมรดกที่ต้องเสียจะอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็น ของส่วนเกินมูลค่า 100 ล้านบาท เช่น ผู้ตายส่งมอบมรดกให้แก่เพื่อนสนิทในจำนวน 150 ล้านบาท สูตรการคำนวณภาษีมรดกคือ

  • ภาษีต้องจ่าย = (มูลค่ามรดกสุทธิที่ได้รับ – 100 ล้านบาทที่กำหนดไว้ว่าไม่ต้องเสียภาษี) x 10%
  • ภาษีที่ต้องจ่าย = (150 – 100) x 10%
  • ภาษีที่ต้องจ่าย = 5 ล้านบาท

ตัวอย่างเพิ่มความชัดเจน เช่น

  • มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 600 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 50 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (600 – 100) x 10%
  • มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 880 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 78 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (880 – 100) x 10%
  • มรดกที่ได้รับมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษี 90 ล้านบาท สูตรคำนวณคือ (1,000 – 100) x 10%

หรือจะเข้าใจง่ายๆ ว่า ผู้ที่ไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียภาษีมรดกมากกว่าผู้ที่เป็นบุพาการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดกจำนวนครึ่งหนึ่งนั่นเอง

วิธีการยื่นภาษีมรดก

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมรดกจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และนำไปชำระภาษีที่สรรพากร ภายใน 120 วันตั้งแต่ได้รับมรดก

ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเสียชีวิตจะต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาจัดการแทนภายใน 180 วัน เพื่อยื่นใบภ.ม.60 และชำระภาษีแทน โดยจะต้องเพิ่มเงิน 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่จะชำระภายใน 150 วัน สามารถแยกย่อยได้ดังนี้

  • หากผู้เสียภาษีเสียชีวิตก่อนครบกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ม.60 ให้ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่ชำระภาษีแทนโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ
  • หากผู้เสียภาษีเสียชีวิตเมื่อครบกำหนดเวลายื่นใบภ.ม.60 แต่ยังไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ให้ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่แทน และเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ
  • หากยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายหลังกำหนดเวลา จะต้องชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ

หากไม่มีผู้จัดการมรดกมาชำระภาษีแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษีภายใน 180 วัน จะต้องให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเป็นผู้จัดการแทนภายใน 150 วัน นับตั้งแต่พ้นวันที่กำหนด 180 วัน หากมีทายาทหลายคนให้ตกลงมอบอำนาจให้คนใดคนหนึ่ง เพื่อรับหน้าที่จัดการเสียภาษีมรดกให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าใครจะเป็นผู้ทำหน้าที่เสียภาษีมรดกให้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อที่จะได้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกเป็นลำดับถัดไป

ที่มา:รู้ทันภาษีมรดก ทรัพย์สินไหนบ้างที่ต้องเสีย? | AP Thai

“ถ้าคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านวิจัยพัฒนาอสังหาฯ มองมาที่เรา GenZ Property“

☎️ สนใจติดต่อ:

📲 096-789-9662 (ดร.ปู)
📲 098-236-9365(คุณปอ)
📲 Line : @GentZProperty

#service #Consultant #property #investment #management #GenZ  #Genzproperty  

#บริการ #ปรึกษา #อสังหาริมทรัพย์ #อสังหาฯ #นักลงทุน #บริหารธุรกิจ #รับปรึกษา #ครบวงจร

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd