อย่างที่แอดมินแนะนำเพือนๆไปว่า Marketing Persona คือ การสร้างแบบจำลองลูกค้าที่เป็นภาพแทนของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เห็นภาพว่าลูกค้าของเราคือใคร เป็นคนแบบไหน ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เราสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจได้นั่นเอง วันนี้แอดมินจะมาแนะนำรายละเอียดใน Marketing Persona ว่าควรมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
1. ข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า
ข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า คือ ข้อมูลทั่วไปที่เราใช้ทำความรู้จักว่าคนคนหนึ่งคือใคร เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย สถานภาพสมรส ฯลฯ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ แบรนด์สามารถนำไปใช้วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเบื้องต้นได้ หรือใช้ในการทำโฆษณาและเลือกเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Audience Targeting) จากข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้
- อายุ
- เพศ
- อาชีพ
- รายได้
- ที่อยู่อาศัย (Location) เช่น จังหวัด ภูมิภาค ฯลฯ
- ระดับการศึกษา/ระดับความเชี่ยวชาญบางสาขา เช่น เทคโนโลยี การเงิน ฯลฯ
- สถานภาพสมรส
2. เป้าหมาย / ปัญหาหรืออุปสรรค / ความสนใจ / แรงจูงใจ
ข้อมูลในส่วนนี้ จะใช้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นอุปสรรคและสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญ เพื่อที่แบรนด์จะได้รู้ “ประเด็น” ที่จะใช้ในการเข้าหาหรือสื่อสารกับพวกเขา ทั้งเป้าหมายของเขา อุปสรรคหรือปัญหาที่เขาอยากแก้ไข หรือความสนใจ สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ
ข้อมูลในส่วนนี้ เราสามารถใช้เพื่อทำการตลาด ทำโฆษณา และยังใช้เพื่อออกแบบคอนเทนต์สานสัมพันธ์กับพวกเขาในระยะยาวได้ด้วย ด้วยการให้ความสำคัญกับปัญหาของเขาจริง ๆ นำเสนอสิ่งที่เขาชื่นชอบ ก็ช่วยให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจในแบรนด์
- เป้าหมายชีวิต / การทำงาน
- อุปสรรคหรือปัญหาที่อยากจะแก้ไข
- งานอดิเรก
- แบรนด์สินค้าที่ชื่นชอบ
- ความสนใจ เช่น เทคโนโลยี ภาพยนตร์ ออกกำลังกาย ฯลฯ
- แรงจูงใจในการตัดสินใจ เช่น ราคา บริการ คุณภาพ ความนิยม ฯลฯ
3. พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และช่องทางการรับข่าวสาร
ข้อมูลด้านพฤติกรรมจะช่วยให้แบรนด์รู้ว่า ลูกค้าใช้ชีวิตอย่างไร ชอบไปไหน รับข่าวสารจะช่องทางไหนบ้าง อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจ ตลอดจนลักษณะนิสัยต่าง ๆ เพื่อให้แบรนด์รู้จัก “ลูกค้าจำลอง” คนนี้มากขึ้น ว่าเป็นคนแบบไหน
ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยให้แบรนด์สามารถออกแบบ Customer Journey เลือกช่องทางการสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างตรงจุดและถูกจังหวะ ช่วยให้ออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่ได้ผลมากยิ่งขึ้น
- ช่องทางที่ใช้หาข้อมูล (Preferred Channel) เช่น ถามเพื่อน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เสิร์ช Google ดูรีวิวบน YouTube ฯลฯ
- รูปแบบคอนเทนต์ที่ชอบเสพ (Content Type) เช่น วิดีโอ บทความ ฟีดโซเชียลมีเดีย ฯลฯ
- แอปพลิเคชันที่ใช้เป็นประจำ
- กิจวัตรประจำวัน
- กิจกรรมที่ชอบทำในวันหยุด
- ช่องทางการชำระเงินที่สะดวก
4. สิ่งที่ต้องการได้รับ (Need)
ลูกค้ากำลังมองหาอะไร ต้องการอะไร หรือกำลังอยากแก้ไขปัญหาเรื่องอะไร
ข้อมูลส่วนนี้ควรได้มาจากการสัมภาษณ์ลูกค้าจริงหรือกลุ่มเป้าหมาย สอบถามเขาถึงประสบการณ์การใช้บริการหรือใช้โปรดักต์ในกลุ่มเดียวกับธุรกิจว่า รู้สึกอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ ชอบตรงไหนและไม่ชอบตรงไหน และในความต้องการที่แท้จริงแล้ว เขาต้องการแก้ปัญหาในเรื่องอะไร รวมไปถึงสอบถามความคาดหวังที่ต้องการหรือ “Need” ของพวกเขา
ดังนั้นเมื่อทราบสิ่งเหล่านี้ ธุรกิจก็สามารถนำไปต่อยอดและปรับปรุงโปรดักต์ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายหรือ Marketing Persona ของตัวเองได้นั่นเองค่ะ
ที่มา:Marketing Persona คืออะไร อธิบายตัวอย่างและวิธีประยุกต์ใช้งานจริง – WISESIGHT
“ถ้าคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้านวิจัยพัฒนาอสังหาฯ มองมาที่เรา GenZ Property“
☎️ สนใจติดต่อ:
📲 096-789-9662 (ดร.ปู)
📲 098-236-9365(คุณปอ)
📲 Line : @GentZProperty
#service #Consultant #property #investment #management #GenZ #Genzproperty
#บริการ #ปรึกษา #อสังหาริมทรัพย์ #อสังหาฯ #นักลงทุน #บริหารธุรกิจ #รับปรึกษา #ครบวงจร