ราคาบ้านในสหรัฐกำลังจะตกต่ำจนถึงปี 2570 ย้อนเทียบวัฏจักรสวนทางไทย

ราคาบ้านในสหรัฐกำลังจะตกต่ำจนถึงปี 2570 ย้อนเทียบวัฏจักรสวนทางไทย

องค์กรการเงินเคหะการแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Housing Finance Agency) ได้แถลงเมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 ว่า ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 0.2% ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2565 ถึงสิ้นเดือนมกราคม 2566 ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นน้อยมาก 

ดัชนีราคาบ้านเพิ่มขึ้นสูงสุด ณ ระดับ 395.7 จุด ในเดือนมิถุนายน 2565 จากนั้นก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ โดย ณ เดือนมกราคม 2566 ดัชนีอยู่ที่ 393.2 จุด อาจกล่าวได้ว่าราคาไม่เปลี่ยนแปลงเลยมาเป็นเวลา 7 เดือนต่อเนื่องกันแล้ว 

ทั้งนี้ ดัชนีเริ่มที่ระดับ 100 จุดในเดือนมกราคม 2534 หรือเมื่อ 32 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากผ่านวิกฤตตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2531-2533 มาครั้งหนึ่ง

จะสังเกตได้ว่าดัชนีราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องนับแต่เดือนมกราคม 2534 จนถึงเดือนเมษายน 2550 แสดงถึงช่วงบูมที่มีระยะเวลาถึง 16 ปี จากนั้นราคาที่อยู่อาศัยก็ตกต่ำลงจนถึงเดือนมกราคม 2555 รวมระยะเวลาที่ตกต่ำเป็นเวลาเกือบ 5 ปี 

วงจรชีวิตตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น

1.ในช่วงปี 2531-2533 ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยกำลังบูมสุดขีด ตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐอเมริกากำลังตกต่ำหนักจากวิกฤตเงินกู้ (Saving and Loan Crisis) ที่สถาบันปล่อยเงินกู้ซื้อบ้านเกิดวิกฤตที่ดอกเบี้ยเงินฝากกลับต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ และการปล่อยกู้ที่หละหลวม สร้างความเสียหายให้กับสถาบันหรือสมาคมเหล่านี้ ล้มหายไปถึง 1 ใน 3 และก่อให้เกิดหนี้เสียถึง 160,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 

2.พอตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐอเมริกาเริ่มฟื้นตัวในเดือนมกราคม 2534 ประเทศไทยก็พบกับวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” จุดแตกหักของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นตอนเช้าตรู่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจคือ การใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง และการสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤตเงินทุนสำรอง ทำให้เงินบาทขาดเสถียรภาพนับตั้งแต่การตัดสินใจเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว

3.ในช่วงปี 2550-2554 ประเทศไทยไม่มีวิกฤตใด ๆ แต่ที่สหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ (subprime mortgage crisis ในประเทศไทยอาจเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) 

สาเหตุก็คือการที่เจ้าของบ้านไม่สามารถชำระเงินที่กู้ยืมมา การตัดสินใจที่ผิดพลาดของผู้กู้ยืมหรือผู้ปล่อยกู้ การเก็งกำไร และการสร้างบ้านมากเกินไปในช่วงที่ตลาดเติบโตอย่างรวดเร็ว สินค้าทางสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง อัตราหนี้สินของบุคคลและบริษัทที่สูง นวัตกรรมทางการเงินที่กระจาย (ในขณะที่อาจจะปกปิด) ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ นโยบายและการควบคุมของธนาคารกลาง

4.ในช่วงโควิด-19 ตลาดที่อยู่อาศัยของไทยตกต่ำลง ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่าการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในปี 2562 ที่ 120,000 หน่วย ลดลงเหลือ 73,000 หน่วยในปี 2563 และ 60,000 หน่วยในปี 2564 และเพิ่งมาฟื้นตัวในปี 2565 

ในขณะที่ในช่วงดังกล่าว ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาพุ่งสูงสุดถึงปีละ 16-18%

5.ในปัจจุบันปี 2566 (ตั้งแต่มิถุนายน 2565-มกราคม 2566) อยู่ในช่วงเริ่มชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาอย่างเด่นชัด และคาดว่าจะเริ่มตกต่ำสุดขีดในกลางปี 2566 และน่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2570 

แต่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตในปี 2566 ประมาณ 10% จากปี 2565 และอีก 5% ในปี 2567 และอาจเกิดภาวะฟองสบู่ และแตกในช่วงปี 2569-2570 สลับกับในกรณีสหรัฐอเมริกา

อนึ่ง ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกา (ราคากลาง) อยู่ที่ 363,000 เหรียญสหรัฐต่อหน่วย หรือประมาณ 12.436 ล้านบาท ในขณะที่ในประเทศไทย ราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 ล้านบาท และในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ที่ 4 ล้านบาท แสดงว่าราคาบ้านในสหรัฐอเมริกาเป็น 3.5 เท่าของราคาบ้านในไทย 

การซื้อขายบ้านในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 4.58 ล้านหน่วยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และมีบ้านสร้างใหม่อยู่ 1.45 ล้านหน่วย แสดงว่าบ้านมือสองมีการซื้อขายกัน 3.13 ล้านหน่วย มากกว่าบ้านมือหนึ่งอยู่ 2 เท่าเศษ ในขณะนี้ประเทศไทยก็เช่นกัน การซื้อขายบ้านมือสองมีขนาดใหญ่กว่าบ้านมือหนึ่งแล้ว

วัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ในไทยและสหรัฐอเมริกาซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกันในคนละซีกโลก จึงสลับกันขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างน่าประหลาด

ดังนั้น ผู้ที่จะลงทุนซื้อบ้านในสหรัฐอเมริกาในขณะนี้น่าจะชะลอลง เพราะราคาบ้านในสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงตกต่ำ หลายแห่งอาจตกต่ำลงอีกจนถึง 40% จากราคาเดิม นักลงทุนค่อยช้อนซื้อก็ยังไม่สาย แต่สำหรับวิกฤตในไทย การตกต่ำลงของราคาก็คงไม่เกิน 20% โดยเฉพาะในช่วงวกฤต “ต้มยำกุ้ง” ในช่วงปี 2540 

ที่มา : https://www.prachachat.net/

Website : www.gentzproperty.com

Tel : Dr.Poo 096-7899662 / Kat 094-6962168

Line Official : https://lin.ee/G2mOxLf

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd