ตลาดที่อยู่อาศัยของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากที่ได้ชะลอตัวในช่วงหลังมาตรการกระตุ้นของภาครัฐได้หมดลงทั้งนี้ คาดว่ามูลค่ายอดโอนที่อยู่อาศัยจะฟื้นตัวราว 7% ในปี 2018 โดยมีปัจจัยบวกทั้งจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ขนาดครอบครัวที่เล็กลงเรื่อยๆ ประกอบกับความต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจูงใจให้ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยออกมาอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้การแข่งขันสูงขึ้นอย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจำ เป็นต้องระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่ๆ และเร่งระบายหน่วยเหลือขายโดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม นอกจากนี้ ภาวะตลาดปัจจุบันที่เป็นตลาดของผู้ซื้อยังกลายเป็นโจทย์ที่ยากมากขึ้นสำ หรับผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการต่อๆ ไป
ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของผู้บริโภคยุคใหม่อย่างมิลเลนเนียล และกลุ่มที่เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเบบี้บูมเมอร์และกระแสเกี่ยวกับผู้บริโภคต่างๆ รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยี ล้วนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการขายโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต อีไอซีพบว่าเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยของไทยที่น่าจับตามองคือ 1) ตลาดคอนโดมิเนียมจะยังคงเป็นตลาดใหญ่ แม้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบ 2) ผู้บริโภคให้ความสำ คัญกับพื้นที่ส่วนกลางฟังก์ชั่นการใช้งานของพื้นที่ภายในโครงการที่หลากหลาย 3) ผู้บริโภคอยากอยู่ใกล้แหล่งชุมชนเพิ่มเติมจากแค่ใกล้รถไฟฟ้า 4) smart home จะกลายเป็น new normal ในอนาคต 5) ผู้บริโภคจะมีการเปรียบเทียบข้อมูลผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นอีกและนิยมรูปแบบที่ล้ำหน้าขึ้น
แม้ว่าผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่อยากได้ที่อยู่อาศัยแนวราบโดยเฉพาะบ้านเดี่ยว แต่คอนโดมิเนียมจะยังคงเป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำ ลังเข้าสู่วัยทำ งาน ที่คอนโดมิเนียมเป็นทางเลือกที่น่าจะตอบโจทย์มากกว่ารูปแบบอื่นด้วยเรื่องทำ เลและกำลังซื้อ ขณะที่กลุ่ม Gen X และกลุ่มที่เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเบบี้บูมเมอร์ก็มีความต้องการคอนโดมิเนียมเพื่อตอบโจทย์ที่หลากหลาย เช่น ภาระการดูแลที่อยู่อาศัยที่น้อยกว่า การซื้อเพื่อลงทุน และบางส่วนเป็นการซื้อให้บุตรหลาน อย่างไรก็ดี มุมมองจากผลการสำ รวจพบว่าหากไม่มีข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ มากนัก ผู้บริโภคส่วนใหญ่อยากได้ที่อยู่อาศัยแนวราบโดยเฉพาะบ้านเดี่ยวมากกว่า
ผู้บริโภคไทยให้ความสำ คัญกับพื้นที่ส่วนกลาง ฟังก์ชั่นการใช้งานของพื้นที่ในโครงการ ผู้บริโภคไทยให้ความสำคัญกับความสมดุลของการทำงานและการใช้ชีวิต ประกอบอาชีพอิสระ และยอมรับการแชร์ในสังคมมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ร่วมในโครงการที่อยู่อาศัยมีผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรคำ นึงถึงการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานของพื้นที่ในโครงการที่หลากหลาย อย่างเช่นการมี co-working spaceและ co-recreation ในที่อยู่อาศัย ตลอดจนพื้นที่ที่จะสามารถรองรับการแชร์ในด้านอื่นๆ ต่อไปในอนาคต เช่น พื้นที่จอดรถยนต์ส่วนกลางที่ใช้ร่วมกัน เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม Downloadfile