เพื่อศึกษาความต้องการอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย แนวราบระหว่างกลุ่ม Generation X และ Generation Y ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของแต่ละกลุ่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้นักพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์สามารถเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากขึ้น และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความพึงพอใจที่จะจ่ายกับปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ กลุ่ม Generation X ที่มีอายุอยู่ในช่วง 36 – 50 ปี และกลุ่ม Generation Y ที่มีอายุอยู่ในช่วง 25 – 35 ปี ส าหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยชิ้นนี้เป็นการเก็บแบบสอบถาม ช่องทางหลักใน
การกระจายแบบสอบถามในครั้งนี้ใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก โดยผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนสถานภาพโสดและสมรส มีความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มอาชีพที่ยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบคือกลุ่มอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ กลุ่มนี้มีที่อยู่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบอยู่แล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยใหม่ เนื่องจากต้องการจะขยับขยายพื้นที่ในการใช้ชีวิต จึงมองหาที่อยู่อาศัยใหม่เป็นที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบเหมือนเดิมแต่ขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม เมื่อพิจารณาด้านระดับรายได้ต่อเดือน พบว่า กลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 – 50,000 บาท เป็นกลุ่มที่ยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบอยู่ ส่วนกลุ่มที่มีระดับรายได้ต่อเดือน 200,000 บาทขึ้นไปมีความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทแนวดิ่งมากกว่า เนื่องจากกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 200,000 บาท 86% เดิมอาศัยอยู่บ้านเดี่ยวทำให้อาจจะมองหาที่อยู่หลังที่สองเป็นคอนโดมิเนียมแทน เมื่อเปรียบเทียบความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบระหว่าง Generation X กับ Generation Y (70% เทียบกับ 57%ตามลำดับ) พบว่ากลุ่ม Generation X มีความต้องการที่อยู่ประเภทแนวราบมากกว่ากลุ่ม Generation Y แต่เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่าทั้ง Generation X และ Generation Yต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง (Generation X ต้องการแนวราบ 70% แนวดิ่ง 30% Generation Y ต้องการแนวราบ 57% แนวดิ่ง 43%) โดยที่กลุ่ม Generation Y ให้ความสำคัญในเรื่องราคาเหมาะสมกับทำเล, พื้นที่ใช้สอยมีความเหมาะสมตรงตามความต้องการ สถาปัตยกรรม และกระบวนการทำงานที่เป็นระบบมากกว่า Generation X จากการศึกษาความน่าจะเป็นในแบบจำลอง logit regression พบว่า เพศชาย, ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี, ระดับรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป, ที่อยู่อาศัยเดิมเป็นคอนโดมิเนียม และกลุ่มที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองมีความน่าจะเป็นใน
การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนกลุ่ม Generation X มีความน่าจะเป็นที่จะเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบมากกว่า Generation Y นอกจากนี้เมื่อพิจารณาในเรื่องความพีงพอใจที่จะจ่าย พบว่า Generation X มีความพึงพอใจที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยต่ำกว่า Generation Y ในแต่ละระดับราคา และพบว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีรายได้สูงขึ้นความพึงพอใจที่จ่ายเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบจะสูงขึ้นตามไปด้วย
อ่านเพิ่มเติม Downloadfile