กู้ร่วมคืออะไร?

กู้ร่วมคืออะไร?

“กู้ร่วม” คือการทำสัญญายื่นกู้สินเชื่อก้อนเดียวกัน เพื่อให้ทางธนาคารเห็นว่าจะมีอีกคนมาช่วยรับผิดชอบ (แบก) หนี้ เพิ่มความมั่นใจว่าจะสามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนด ทำให้ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือได้วงเงินสูงขึ้น โดยปกติแล้วจะกู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน สามารถกู้ร่วมได้ในสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

🔸ใครบ้างที่ขอกู้ร่วมได้?
1.คนที่มีนามสกุลเดียวกัน
เช่น พี่-น้อง พ่อ-แม่-ลูก

2.พี่-น้องท้องเดียวกัน
แม้จะคนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ โดยต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน

3.สามี-ภรรยา
แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็กู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามี-ภรรยากัน เช่น ภาพถ่ายหรือการ์ดงานแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร


🔸ประโยชน์ของการกู้ร่วม
1.ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
คนที่ต้องการซื้อบ้านหรือคอนโดฯ แต่กังวลว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณาของธนาคาร หากมีผู้กู้ร่วมที่มีสุขภาพการเงินแข็งแรง ก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น

2.ได้วงเงินสูงขึ้น
การมีผู้กู้ร่วม ฐานรายได้ที่นำมาพิจารณาก็จะเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสได้วงเงินสูงขึ้น

3.ไม่ต้องแบกภาระหนี้คนเดียว
การกู้ร่วมทำให้เรามีคนช่วยผ่อนชำระหนี้ และเป็นการกระจายความเสี่ยง เผื่อวันหนึ่งเราขาดสภาพคล่อง ก็ยังมีผู้กู้ร่วมที่สามารถชำระหนี้ได้ เพราะลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ต้องช่วยกัน


🔸ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจลงเรือลำเดียวกัน
1.กู้ร่วมไม่ได้แปลว่าต้องหารหนี้เท่า ๆ กัน
การกู้ร่วมไม่ได้แปลว่าจะต้องรับผิดชอบฝ่ายละครึ่ง (หรือหารเท่าๆ กัน) แต่ทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินก้อนนี้ร่วมกัน ดังนั้นถ้าผิดชำระหนี้หรือถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ธนาคารมีสิทธิ์จะเรียกชำระหนี้จากใครก็ได้ที่เป็นผู้กู้ร่วม

2.การใส่ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
การกู้ร่วมอสังหาริมทรัพย์จะมีอยู่ 2 แบบคือ “ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ง่ายและสะดวก แต่ผู้กู้ร่วมจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใด ๆ ในอสังหาฯ นั้น กับอีกแบบคือ “ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ทุกคนจะมีสิทธิ์เท่าๆ กัน แต่หากต้องการขายอสังหาฯ นั้น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคน

3.สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ จะแบ่งกันเองไม่ได้ แต่จะลดหย่อนรวมได้สูงสุดเพียง 100,000 บาท (ถ้ากู้ร่วม 2 คน แปลว่าลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท)

4.ถ้าผู้กู้ร่วมเสียชีวิต
กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิตจะต้องแจ้งธนาคาร มิเช่นนั้นสัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลง จากนั้นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิต (ที่ธนาคารประเมินแล้วว่าสามารถจ่ายหนี้ได้) จะเข้ามารับช่วงต่อการผ่อนชำระ


🔸ลงชื่อกู้ร่วมแล้วจะยกเลิกได้มั้ย?
จะถอนชื่อกู้ร่วมได้ ต่อเมื่อธนาคารพิจารณาแล้วว่าผู้กู้ร่วมที่เหลืออยู่สามารถผ่อนชำระไหว หรือใกล้หมดสัญญาแล้ว แต่ถ้าธนาคารเห็นว่าคนที่เหลืออยู่ผ่อนไม่ไหว ก็ต้องหาคนอื่นมากู้ร่วมแทน

“การกู้ร่วม” ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการขอสินเชื่อ ทำให้ธนาคารอนุมัติได้ง่ายขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคู่ที่อยากมีธุรกิจร่วมกัน หรือซื้อบ้านเพื่อสร้างอนาคต แต่ก่อนจะตัดสินใจกู้ร่วม ต้องมั่นใจก่อนว่าคนนั้น ๆ ไว้ใจได้ และมีความสามารถในการจ่ายหนี้ หรือการกู้ร่วมซื้อบ้านกับคนรัก ก็อยากให้แน่ใจแล้วว่าจะลงหลักปักฐานกับคนนี้จริง ๆ เพราะเมื่อลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ต้องไปให้ตลอดรอดฝั่ง

🔸

ที่มา : https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/healthyborrowing-howtoreducedebt-feb-2021-1

สำหรับทาง Gen Z Property สามารถให้คำปรึกษาได้ครบวงจร หากต้องการความช่วยเหลือหรือปรึกษาเพิ่มเติม

Tag : ที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ รับปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รับวิเคราะห์ตลาดก่อนการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบ้านจัดสรร ที่ปรึกษาด้านการลงทุนคอนโดมิเนียม ที่ปรึกษาด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์ จัดทำFeasibilityStudy ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริการวางกลยุทธ์การเลือกทำเลธุรกิจ บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ปรึกษาด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำสรุปรายงานสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริการการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ ที่ปรึกษาด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ รับสรรหานายทุนรายใหญ่ รับสรรหานายทุนรายย่อย

ให้ทางเราเสนอตัวอย่าง

Genz Consutant Co., Ltd